WWW (world wide web) เว็บไซต์ (Website) Web Browser (เว็บเบราว์เซอร์) เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) URL
FTP DNS (Domain Name Server) Home page Hyperlink Anchor

 

WWW (world wide web)

ย่อมาจาก world wide web อ่านว่า เวิลด์ไวด์เว็บ หมายถึงสถานที่รวมของกลุ่มคอมพิวเตอร์ ที่มีข้อมูลเตรียมพร้อมไว้ให้ผู้คนอ่านผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Internet) โดยใช้ภาษา เอชทีทีพี (HTTP หรือ Hypertext Tranfer Protocol) ทุกหน้าจะมีทั้งเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ มีเมนูพร้อมที่จะให้เราสั่งงาน มีคำหลายคำที่มีแถบสีซึ่งเราสามารถกดเมาส์ถามหารายละเอียดต่าง ๆ ในเรื่องนั้นต่อ ซึ่งอาจเป็นการเรียกหาจากแหล่งเดียวกัน หรือจากแหล่งคอมพิวเตอร์อื่นได้ทั่วโลก ดู internet, HTML, ประกอบ

io

เว็บไซต์ (Website)

หน้าเว็บเพจที่จัดทำขึ้น เพื่อนำเสนอข้อมูลต่างๆ ผ่านทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต โดยจะมีหน้าเว็บเพจหลายๆ หน้าที่เชื่อมโยงเข้ากับไฮเปอร์ลิ้งค์ เพื่อให้สามารถเปิดไปยังหน้าเพจต่างๆ ได้อย่างง่ายดายและถูกจัดเก็บไว้ใน www. (เวิลด์ไวด์เว็บ) โดยเว็บไซต์ส่วนใหญ่นั้นก็มีทั้งเว็บไซต์ที่เปิดให้เข้าชมได้ฟรี และเว็บไซต์ที่ต้องสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการ จึงจะเข้าใช้งานเว็บได้ ซึ่งข้อมูลในเว็บก็จะมีหลากหลายแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการนำเสนอของเจ้าของเว็บไซต์ การเรียกดูเว็บไซต์จะเรียกดูผ่านทางซอฟต์แวร์ ในลักษณะของเบราว์เซอร์

io

Web Browser (เว็บเบราว์เซอร์)

โปรแกรมที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลและติดต่อสื่อสารในรูปแบบ Webpage (เว็บเพจ) โดยโปรแกรมจะแปลงภาษาคอมพิวเตอร์ HTML ให้เป็นภาษาที่คนทั่วไปสามารถอ่านและเข้าใจได้บนหน้าเว็บ
การใช้งาน Web Browser ในการเข้าชมเว็บไซต์นั้น ผู้ใช้งานจะต้องกรอก Domain Name (โดเมนเนม) ลงไปเวลาต้องการเข้าไปยังเว็บไซต์ต่างๆ โดย Domain Name จะนำมาใช้แทน IP Address (ไอพี แอดเดรส) หรือที่อยู่ของเว็บไซต์ที่เป็นตัวเลขซึ่งจดจำได้ยาก

io

เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting)

รูปแบบการให้บริการสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้งานนั้นมีความต้องที่จะฝากเว็บไซต์ของตนเองไว้กับผู้ให้บริการเซิฟเวอร์ (HSP: Hosting Service Provider) เพื่อให้เว็บไซต์ของตนเองนั้น ออนไลน์อยู่่บนโลกอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชม.
โดยที่ทางผู้ให้บริการจะจัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์ ฐานข้อมูล อีเมล ฯลฯ ไว้ในเครื่องเซิฟเวอร์ หรือที่เรียกกันว่าเว็บเซิฟเวอร์ (Web Server) ซึ่งเว็บเซิฟเวอร์จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางที่จะแสดงผลหน้าเว็บไซต์ให้กับผู้ท่องอินเทอร์เน็ตทั่วไปได้เช้าชมผ่านโดเมนเนม(เช่น www.pathosting.co.th) ได้ตลอดเวลา
ดังนั้นผู้ที่ต้องการออนไลน์เว็บไซต์ของตนเองจึงต้องคำนึงถึงเว็บเซิฟเวอร์ก่อน แต่ด้วยความที่เว็บเซิฟเวอร์นั้นมีราคาค่อนข้างสูง บวกกับจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยดูแลเซิฟเวอร์ในด้านเทคนิคต่างๆ อีก ทำให้เจ้าของเว็บไซต์ส่วนใหญ่จึงหันมาใช้บริการ Web Hosting เนื่องจากค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามาก

io

URL

ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต หรือ โปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล (Uniform Resource Locator, Universal Resource Locator) เรียกโดยย่อว่า ยูอาร์แอล (URL) คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้ในเอกสารทางเทคนิคและการอภิปรายทั่วไป มักจะใช้ยูอาร์แอล แทนความหมายที่คล้ายกับยูอาร์ไอ ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องและอาจทำให้เกิดความสับสน ในภาษาพูดทั่วไป ยูอาร์แอลอาจหมายถึง ที่อยู่บนเว็บ หรือ ที่อยู่อินเทอร์เน็ต ก็ได้ ซึ่งปกติแล้วเรามักพิมพ์ยูอาร์แอลในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์เพื่อเรียกข้อมูลจากเว็บไซต์

io

FTP

ย่อมาจาก File Transfer Protocol (โปรโตคอลการโอนย้ายไฟล์) เรามาลงรายละเอียดกัน โดยพื้นฐานแล้ว “โปรโตคอล” คือชุดของขั้นตอนหรือกฎที่อนุญาตให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สื่อสารกันได้ FTP เป็นชุดของกฎที่อุปกรณ์บนเครือข่าย TCP / IP (อินเทอร์เน็ต) ใช้เพื่อถ่ายโอนไฟล์ เมื่อคุณใช้อินเทอร์เน็ต คุณกำลังใช้โปรโตคอลที่แตกต่างกัน คุณจะใช้ HTTP สำหรับการเรียกดู และใช้ XMPP สำหรับการส่งและรับข้อความโต้ตอบแบบทันที FTP ก็คือโปรโตคอลที่ใช้ในการย้ายไฟล์

io

DNS (Domain Name Server)

คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เก็บค่าIPของแต่ละเว็ปไซต์ เพราะว่าการที่คุณเข้าเว็ปไซต์โดยการพิมพ์ www ชื่อเว็ปไซต์นั้น ตัว DNS จะแปลงจากชื่อเว็ปไซต์ไปเป็นหมายเลข IP เพื่อนำคุณไปยัง Server ที่เป็นที่อยู่ของเว็ปไซต์นั้นๆ เช่น พอเราพิมพ์ที่อยู่ของวิกิพีเดีย wikipedia.org ลงไปในเว็บเบราว์เซอร์, เบราว์เซอร์ก็จะไปถาม DNS ว่า “เฮ้ นาย หมายเลขที่อยู่ของ wikipedia.org เนี่ย มันคือหมายเลขอะไรเหรอ?”, DNS ก็จะตอบกลับมาว่า “ก็ 208.80.152.2 ไงล่ะ”, จากนั้นเบราว์เซอร์ก็จะติดต่อไปยังหมายเลขดังกล่าว เพื่อโหลดหน้าเว็บของ         วิกิพีเดียมาให้เรา

io

Home page

  โฮมเพจ คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆอีกด้วย

io

Hyperlink

การเชื่อมโยงหลายมิติ หรือ ไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink) นิยมเรียกโดยย่อว่า ลิงก์ (link) คือคำหรือวลีต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารข้อความ ใช้สำหรับเปิดเอกสารอื่นที่เชื่อมโยงด้วยวิธีการคลิกลงบนคำหรือวลีนั้น โดยเฉพาะกับเว็บเพจซึ่งจะทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ ข้อความที่เป็นลิงก์มักจะปรากฏเป็นสีหรือรูปแบบที่โดดเด่นกว่าข้อความรอบข้าง ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถคลิกบนลิงก์เพื่อเปลี่ยนหน้าไปยังเว็บเพจที่กำหนดไว้ แทนที่จะพิมพ์ในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์โดยตรง

io

Anchor

Link ตัวอักษรที่สามารถกดคลิกเพื่อไปหน้าถัดไปหรือหน้าที่ต้องการได้ อย่างเช่น ถ้าเราต้องการ Keyword เป็นคำว่า “จองภาพยนตร์” เพื่อ Link กลับไปยังเว็บไซต์ของโรงภาพยนตร์ ก็จะมี Link ลักษณะนี้ จองภาพยนตร์ ในหน้าเว็บ ซึ่งคำว่า Anchor Text มักพบบ่อยเพราะว่าในการทำ SEO นั้น การใช้ Keyword ที่ต้องการมาทำเป็น Anchor Text นั้นจะเป็นการช่วยเพิ่มอันดับได้เช่นกัน ซึ่งในการเลือกใช้คำที่จะมาทำ Anchor Text นั้นก็ควรที่จะมีความเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์หรือผลิตภัณฑ์ และไม่ใส่มากจนเกินพอดี นอกจากนี้ยังต้องมีการพิจารณาขนาดและ Font ให้เหมาะสมด้วย

io

home