1. WWW
WWW ถือกำเนิดในปีพ.ศ. 2532 โดย ทิม เบอร์เนิร์ส ลี (Tim Berners-Lee) และใช้เครื่อง Next เป็นเครื่องบริการเว็บ (Web server) เครื่องแรกของโลก ผ่านโปรโตคอล HTTP โดยถือกันว่า ทิม เบอร์เนิร์ส ลี เป็นบิดาของ WWW (World Wide Web) เลยทีเดียว
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3 หรือ Web) คือ บริการค้น  หรือเรียกดู ข้อมูลแบบหนึ่ง ในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บ จะอยู่ในแบบสื่อผสม  หรือมัลติมีเดีย (multimedia) ที่มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีโอ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ แต่ละหน้าสามารถ เชื่อมโยงถึงกันได้เป็นแบบเครือข่ายคล้ายใยแมงมุม จากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วโลก
โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 มาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานหลักที่ต้องใช้ในเว็บ คือ
1. Uniform Resource Locator (URL) เป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กำหนดและระบุตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพจแต่ละหน้าที่เราจะเข้าถึง
2. Hyper Text Transfer Protocol (HTTP) เป็นตัวกำหนดลักษณะการสื่อสารระหว่างเว็บเบราว์เซอร์ และเซิร์ฟเวอร์
3. Hyper Text Markup Language (HTML) เป็นตัวกำหนดลักษณะการแสดงผลของข้อมูลในเว็บเพจ
ประโยชน์ของ WWW
การเข้าอินเตอร์เน็ตแต่ละครั้งเราจะต้องมีการเรียกใช้งาน URL ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ส่วนหลักๆก็คือ WWW เป็นคำขึ้นต้น และตามด้วยชื่อของ URL และโดเมน ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะมีจุด(.) คั่นระหว่าง 3 ส่วนนี้
โดยการเข้าอินเตอร์เน็ตแต่ละครั้งเราต้องพิมพ์ URL ผ่านบราวเซอร์ หลังจากนั้นบราวเซอร์จะขอใช้บริการของ WWW เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็สามารถที่จะเห็นข้อมูลต่างๆผ่านหน้าจอคอมเป็นตัวอักษรและกราฟฟิกที่มนุษย์เข้าใจได้ โดยผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบสื่อสารกับทาง WWW ได้ด้วยเช่นกัน การโต้ตอบเราจะทำผ่านเว็บบราวเซอร์เช่นเดียวกัน
ประโยชน์ของ WWW หรือเราจะเรียกว่า W3 ก็ได้เช่นกันนั้น มีประโยชน์มากในการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพราะการเข้าอินเตอร์เน็ตเราต้องใช้บริการของ WWW จึงทำให้ WWW เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการเข้าอินเตอร์เน็ต

2. Web Site
เว็บไซต์ (อังกฤษ: website, web site, Web site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
คำว่า เว็บไซต์ ในภาษาอังกฤษ
ในภาษาอังกฤษ มีการสะกดคำว่า เว็บไซต์หลายแบบ ตั้งแต่ Web site, website และ web site เริ่มแรกสุดคำว่าเว็บไซต์นั้น สะกดด้วยการแยกคำ และใช้ตัว W พิมพ์ใหญ่ เป็น Web site เนื่องจากคำว่า "Web" เป็นคำนามเฉพาะ ย่อมาจากคำว่า "World Wide Web" ดังนั้นจึงใช้คำว่า "Web site" ซึ่งสามารถเห็นได้ทั่วไปตามสื่อมวลชน และพจนานุกรมภาษาอังกฤษ และภายหลังได้มี คำว่า "web site" และ "website" เกิดขึ้นตามมา

3. Web browser
เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลข่าวสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บไซต์ที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ในระบบบริการเว็บโฮสติ้งหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์เปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บเพื่อแสดงผล ข้อมูลต่างๆที่อยู่ในไฟล์มาแสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ตามผู้ใช้งาน
เวิลด์ไวด์เว็บ (www) หมายถึง เครื่อข่ายที่เชื่อต่อกันทั่วโลก หรือ ที่เราเรียกว่า เว็บ คือรูปแบบหนึ่งของระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายข่าวสาร ใช้ในการค้นหาข้อมูลข่าวสารบน Internet จากแหล่งข้อมูลหนึ่ง ไปยังแหล่ง ข้อมูลที่อยู่ห่างไกล ให้มีความง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด  
ประโยชน์ของ Web Browser
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page
เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ดังนี้
- Google Chrome             - Mozilla Firefox
- Internet Explorer           - Opera                  - Safari

4. Web Hosting
เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) คือ รูปแบบการให้บริการที่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการ สามารถนำเว็บเพจของตนเอง เพื่อออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งเว็บโฮสนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ' HSP ' ย่อมาจาก Hosting Service Provider หรือผู้ให้บริการโฮสติ้ง เป็นธุรกิจที่นำเอาเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับงานสร้างเว็บไซต์ มาให้บริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เว็บไซต์นั้นสามารถมองเห็นได้บนอินเตอร์เน็ต
ทุกเว็บไซต์ที่ออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตจะต้องได้รับการฝาก หรือเก็บไว้บนคอมพิวเตอร์พิเศษ ที่เรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเซิร์ฟเวอร์นี้จะทำหน้าที่เป็นตัวติดต่อกับทุกหนทุกแห่งตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้เว็บไซต์ ของคุณสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลาในโลกที่มีการต่อเชื่อม อินเตอร์เน็ตง่ายๆ แค่พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ของคุณ (Domain Name) ตัวอย่างเช่น http://www.yourcompany.com/
ผู้ให้บริการจะทำการติดตั้งระบบทั้งหมดให้คุณ เมื่อมีบุคคลที่พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ของคุณ (Web address) ชื่อนั้นจะถูกส่งตามเส้นทางจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งไปเรื่อยๆ เซิร์ฟเวอร์ที่คุณได้ฝากเว็บไซต์ไว้ (Host computer) ในเวลาเพียงเสี้ยววินาที
ดังนั้นการออนไลน์เว็บไซต์ของคุณบนอินเตอร์เน็ต สิ่งแรกที่คุณจำเป็นจะต้องมีคือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งอย่างไรก็ตามการติดตั้งระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์เป็นของตนเองสามารถทำได้ แต่มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมากและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคดูแล ดังนั้น บริษัทส่วนใหญ่จะไม่ดำเนินการลงทุนเพื่อเป็นเจ้าของเอง และนี่คือที่มาของบริการเว็บโฮสติ้ง เว็บโฮสติ้งที่ดีจะต้องให้บริการทั้งเครื่องมืออำนวยความสะดวกและคำแนะนำแก่ผู้ใช้บริการ
 

5.URL
โปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล หรือตัวชี้แหล่งในอินเตอร์เน็ต (อังกฤษ: universal resource locator หรือ uniform resource locator)เรียกโดยย่อว่า "ยูอาร์แอล" (อังกฤษ: URL) หมายถึงตัวระบุแหล่งในอินเตอร์เน็ต โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งและที่อยู่ของเว็บไซต์หนึ่ง ๆ
ลองจินตนาการถึงบ้านเรา URL ก็คือถนนที่นำทางไปสู่บ้านเรานั่นเอง สมมติว่าเราฝากรูปไว้ที่ Photobucket ตัวหนังสือ http://..... ที่นำไปสู่รูปเราก็คือ URL นั่นเอง
หมายเลขอินเตอร์เน็ต หรือ IP Address จะเป็นรหัสประจำตัวของคอมพิวเตอร์ ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต โดยหมายเลขนี้จะมีรหัสไม่ซ้ำกัน ประกอบไปด้วย ตัวเลขจำนวน 4 ชุด ด้วยกัน ที่คั่นด้วย เครื่องหมายจุด (.) ยกตัวอย่างเช่น 203.155.241.37 ครับ จะเป็นหมายเลข IP Address ของเครื่อง thaiware.com
ชื่ออินเตอร์เน็ต ( DNS : Domain Name Server ) จะเป็นชื่อที่อ้างถึง คอมพิวเตอร์ ที่ต่อเข้ากับ อินเตอร์เน็ต เนื่องจาก IP Address เป็นตัวเลข 4 ชุด ซึ่งเป็นที่ยากในการจำเป็นอย่างมาก และ ไม่ได้สะดวกต่อผู้ใช้ ซึ่ง DNS นี้จะทำให้จดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น เป็น mail.ksc.net.th , [email protected] ( mail
คือ ชื่อ คอมพิวเตอร์ , ksc คือชื่อ เครือข่ายท้องถิ่น , net คือ ซับโดเมน , th คือ ชื่อโดเมน)

6.FTP
FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอลหนึ่งในเครือข่ายที่มีหน้าที่ในการส่งถ่ายข้อมูลต่าง ๆผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งการส่งข้อมูลต่างๆผ่าน FTP เป็นการโอนถ่ายที่มีความปลอดภัยและรวดเร็วโดยใช้โปรโตคอล TCP เป็นกลไกขนส่งข้อมูล ซึ่งจะทำงานควบคู่กับ Server โดยการโอนถ่ายข้อมูลแบบ FTP สามารถโอนถ่ายข้อมูลจากที่ไหนก็ได้แม้เครื่องสองเครื่องจะอยู่ห่างไกลกันก็ตาม
FTP มีหน้าที่หลักๆในการส่งถ่ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบ Server โดยการใช้งาน FTP นี้เราต้องสร้างช่องทางสื่อสารในระดับ TCP ออกมา 2 ช่องทางก่อนคือ ช่องทางรับและส่งข้อมูล อีกหนึ่งช่องทางคือ ช่องทางในการรับคำสั่งจากผู้ใช้งาน ก่อนที่จะโอนถ่ายข้อมูลนั้นเราจะต้องใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านให้กับ Server ก่อน หลังจากนั้นเราถึงจะเห็นโฟลเดอร์ต่างๆที่ถูกเก็บไว้
โดยเราสามารถที่จะโอนถ่ายไฟล์ต่างๆผ่านการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งมายังอีกระบบหนึ่งผ่าน เครือข่ายซึ่งทำได้หลายรูปแบบ อาทิ เราต้องการโอนไฟล์จากคอมพิวเตอร์ส่วนตัวไปยัง Server ได้ โดยอาศัยโปรแกรม FTP ในการโอนถ่ายข้อมูล และการใช้งานโปรแกรม FTP ต่าง ๆนั้นจะใช้งานง่ายมาก หน้าตาของโปรแกรมจะเหมือนกับหน้าต่างของโฟล์เดอร์ เพียงเราต้องการคัดลอกไฟล์เราก็ลากไฟล์ที่ต้องการเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เลยในทันที
 

ประโยชน์ของ FTP
FTP มีประโยชน์อย่างมากในโลกของการสื่อสาร เนื่องจากการช่วยให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเอาข้อมูลไปในที่ต่างๆ ด้วยตัวเอง อาทิ ธุรกิจหนึ่งมีอยู่หลายหน่วยงานและต้องใช้เอกสารต่าง ๆร่วมกันเพียงเราฝากไฟล์ไว้กับ Server แต่ละหน่วยงานก็สามารถเข้าไปคัดลอกไฟล์ออกมาใช้งานร่วมกันได้แล้วแม้ว่าหน่วยงานต่างๆจะอยู่คนละประเทศก็ตาม FTP ยังช่วยให้เกิดสังคมการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ต่างๆผ่านโลกอินเตอร์เน็ต
ปัจจุบันการเข้าถึงบริการ FTP นั้นไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้วเพียงเราไปสมัครใช้บริการกับผู้ให้บริการเราก็สามารถใช้งาน FTP ได้อย่างง่ายดาย


7.DNS
DNS (Domain Name Server)คือคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เก็บค่าIPของแต่ละเวปไซต์ เพราะว่าการที่คุณเข้าเวปไซต์โดยการพิมพ์ www ชื่อเวปไซต์นั้น ตัว DNS จะแปลงจากชื่อเวปไซต์ไปเป็นหมายเลข IP เพื่อนำคุณไปยัง Server ที่เป็นที่อยู่ของเวปไซต์นั้นๆ เช่น พอเราพิมพ์ที่อยู่ของวิกิพีเดีย wikipedia.org ลงไปในเว็บเบราว์เซอร์, เบราว์เซอร์ก็จะไปถาม DNS ว่า “เฮ้ นาย หมายเลขที่อยู่ของ wikipedia.org เนี่ย มันคือหมายเลขอะไรเหรอ?”, DNS ก็จะตอบกลับมาว่า “ก็ 208.80.152.2 ไงล่ะ”, จากนั้นเบราว์เซอร์ก็จะติดต่อไปยังหมายเลขดังกล่าว เพื่อโหลดหน้าเว็บของวิกิพีเดียมาให้เรา
ด้วยเหตุนี้ DNS จึงมีความสำคัญสำหรับการใช้อินเทอร์เน็ตมาก ถ้า DNS ช้าหรือทำงานบ้างไม่ทำงานบ้าง การใช้อินเทอร์เน็ตของเราก็จะติด ๆ ขัด ๆ หรือถ้าเกิดว่า DNS ที่เราใช้ มีเจตนาไม่ดี แกล้งบอกหมายเลขให้เราผิด ๆ ให้เราไปเข้าเว็บไซต์ที่สามารถทำอันตรายคอมพิวเตอร์เราได้ เช่นปล่อยไวรัส หรือพาเราไปเข้าเว็บไซต์ที่ทำหน้าทำตาให้คล้ายกับเว็บที่เราใช้ประจำ เพื่อหลอกเอารหัสผ่านและข้อมูลส่วนตัวของเรา อันนี้ก็น่ากลัว และเคยเกิดขึ้นมาแล้ว (บางครั้ง DNS ที่เราเคยใช้อยู่ดี ๆ ก็อาจจะกลายเป็นตัวร้ายขึ้นมาได้ เมื่อโดนผู้ไม่ประสงค์ดีโจมตีเข้าไปแก้ข้อมูลใน “สมุดโทรศัพท์” ให้เป็นข้อมูลผิด ๆ การโจมตีทาง DNS นั้นมีหลายประเภท เช่น DNS hijacking และ DNS cache poisoning
ดังนั้น เราจึงแนะนำให้ผู้ใช้ทุกคน ตั้งค่า DNS ให้ใช้ DNS server ที่เราเชื่อใจได้ ตัวอย่างเช่น Google Public DNS, OpenDNS, ฯลฯ ดังที่บอกไปข้างต้นแล้ว หรืออาจจะเป็น DNS ที่เราดูแลเองหรือเชื่อใจคนดูแลก็ได้ (และเชื่อมั่นว่า มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีเพียงพอ ที่จะป้องกันการโจมตีเพื่อเปลี่ยนข้อมูล) โดยปกติ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จะตั้งค่าให้เราใช้งาน DNS ของเขาอยู่แล้ว โดยอัตโนมัติ แต่เราก็สามารถเปลี่ยนได้ ถ้าต้องการ

การตั้งค่า DNS นั้นไม่ยาก และสามารถตั้งที่ตัวเราเตอร์ wifi ก็ได้ เพื่อความสะดวกของคนที่ใช้ wifi จากเราเตอร์นั้น ๆ ไม่ต้องตั้งค่าเอง โดยเราอาจปรึกษาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือผู้ดูแลระบบเครือข่ายในบริษัท หรืออาจจะเป็นเพื่อน ๆ เราที่เคยตั้งดูก็ได้

8.Homepage
โฮมเพจ (Homepage) คือหน้าแรกของเว็บไซต์ เปรียบเหมือนประตูบานแรกหรือทางเข้าของเว็บ เวลาที่มีคนมาเยียมชมเว็บของเรา ในหน้าโฮมเพจอาจรวมเนื้อหาเด่น ๆ ที่น่าสนใจ อาจมีรูปภาพสวย ๆ หรืออาจจะโชว์สินค้าที่เราขาย ส่วนประกอบของโฮมเพจอาจแตกต่างกันไปตามประเภทและจุดประสงค์ของเว็บไซต์
เพราะโฮมเพจก็เปรียบเหมือน “ปกและสารบัญ” ที่ทำให้คนอยากหยิบอ่าน อยากเปิดหน้าต่อไป และมีหน้าที่ทำให้พวกเขารู้ว่าควรไปต่อที่ไหน หรือค้นหาสิ่งที่ต้องการได้ที่หน้าเพจไหน
** โดย โฮมเพจ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของ เว็บไซต์ (Website) **
เว็บไซต์ คือทุกสิ่งทุกอย่างที่รวมเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเว็บเพจหรือโฮมเพจเมื่อรวมกันแล้วก็จะกลายเป็นเว็บไซต์หนึ่งเว็บ
ส่วนเว็บเพจ (Webpage) คือ หน้าย่อย ๆ ในแต่ละหน้าของเว็บไซต์ เช่น หากเราคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ Kapook และคลิกต่อเข้าไปในหน้าข่าวเด่น หน้าข่าวเด่นก็คือหน้าที่เรียกว่าเว็บเพจนั่นเอง

9.Hyper Link
ไฮเปอร์ลิงค์ หรือ ลิงค์ (Link) คือ การสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร จากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่ง หรือ จากเอกสาร หนึ่ง ไปยังอีกเอกสารหนึ่ง โดยใช้ ข้อความ รูปภาพ หรือ เมนู เป็นตัวนำทางไปยัง เอกสารดังกล่าว ซึ่งเนื้อหา ข้อมูลอาจจะเกี่ยวข้อง หรือ ไม่เกี่ยวข้องกันก็ได้ เพราะเอกสารเว็บเพจ มีจำนวนมาก และ ไม่สามารถ นำมาวาง ในหน้าเดียวกันได้ทั้งหมด จึงนิยมสร้างลิงค์ขึ้นมา เพื่อให้ ผู้ใช้ คลิกกระโดดไปยังตำแหน่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
องค์ประกอบของไฮเปอร์ลิงค์ ประกอบด้วย 2 ส่วนด้วยกัน คือ
ต้นทาง (Source Anchor) ข้อมูลบนเว็บเพจต้นทาง ที่ผู้ใช้เลื่อนเมาส์ไปชี้ เมาส์พอยเตอร์ จะเปลี่ยนเป็นรูปมือ และ เมื่อคลิกเอกสาร หรือ ข้อมูลปลายทาง จะถุกเรียกขึ้นมา ต้นทาง อาจจะเป็นข้อความ หรือ รูปภาพ ก็ได้
ปลายทาง (Destination Anchor)
URL : Uniform Resource Location ที่อ้างถึงเอกสาร หรือ แหล่งข้อมูลใดๆ บนอินเทอร์เน็ต เช่น http://www.yahoo.com
พาธที่อยู่ของไฟล์ที่อ้างถึง ภายในเครื่อง เช่น c:\webpage\news.htm
ที่อยู่อีเมล์ เช่น [email protected]

10.Anchor
Anchor เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในเว็บไซต์โดยเฉพาะเมื่อหน้าเว็บมีข้อความจำนวนมากในหน้าเดียว ลิงค์เหล่านี้ซึ่งบางครั้งอาจเรียกว่าลิงค์ภายในหรือการข้ามหน้าช่วยให้ผู้ใช้สามารถคลิกที่ข้อความที่เน้นสีและข้ามไปยังส่วนอื่นของหน้า พวกเขาสามารถสร้างขึ้นได้อย่างง่ายดายด้วยการเขียนโค้ดแบบง่าย ๆ และช่วยปรับปรุงการนำทางบนหน้าเว็บ
หลายครั้งที่ผู้คนมีเพจเดี่ยวขนาดใหญ่พวกเขาจะสร้างดัชนีหน้าหรือสารบัญ ดัชนีที่ด้านบนเป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบในการเพิ่มลิงค์ยึดเพื่อให้รายการแต่ละรายการกลายเป็นจุดกระโดดของตนเองไปยังส่วนอื่นของหน้า สิ่งนี้ช่วยให้ผู้คนที่ดูเว็บเพจคลิกที่ดัชนีหรือสารบัญและย้ายไปทันทีเพื่อเข้าถึงเนื้อหาที่พวกเขาต้องการแทนที่จะต้องสแกนผ่านหลาย ๆ ส่วน ลิงค์ Anchor เป็นผู้ใช้ทั่วไปและมักเป็นที่ต้องการของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความซับซ้อนและต้องการเข้าถึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด
มีหลายวิธีในการสร้างจุดยึดลิงก์และวิธีการที่โปรแกรมเมอร์แต่ละคนทำเช่นนั้นอาจขึ้นอยู่กับประเภทของตัวเลือกการเขียนโปรแกรมและโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์สร้างเว็บจริง โดยพื้นฐานแล้วคนที่ใช้ HTML แบบง่ายต้องจัดเตรียมพื้นที่บนหน้าเว็บที่เป็นจุดยึดหรือปลายทางของการกระโดด ส่วนที่สองของรหัสคือลิงค์จริงไปยังจุดยึด จำเป็นต้องใช้ทั้งสองส่วนและเกิดขึ้นกับส่วนต่าง ๆ ของหน้า