1. www
ย่อมาจาก world wide web อ่านว่า เวิลด์ไวด์เว็บ หมายถึงสถานที่รวมของกลุ่มคอมพิว เตอร์ที่มีข้อมูลเตรียมพร้อมไว้ให้ผู้คนอ่านผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Internet) โดยใช้ภาษา เอชทีทีพี (HTTP หรือ Hypertext Tranfer Protocol) ทุกหน้าจะมีทั้งเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ มีเมนูพร้อมที่จะให้เราสั่งงาน มีคำหลายคำที่มีแถบสีซึ่งเราสามารถกดเมาส์ถามหารายละเอียดต่าง ๆ ในเรื่องนั้นต่อ ซึ่งอาจเป็นการเรียกหาจากแหล่งเดียวกัน อจากแหล่งคอมพิวเตอร์อื่นได้ทั่วโลก ดู internet, HTML, ประกอบ

กลับเมนูย่อย

 

2. Website
ความหมายของเว็บไซต์และองค์ประกอบต่างๆ
เว็บไซต์ (Website) หมายถึง หน้าเว็บเพจที่จัดทำขึ้น เพื่อนำเสนอข้อมูลต่างๆ ผ่านทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต โดยจะมีหน้าเว็บเพจหลายๆ หน้าที่เชื่อมโยงเข้ากับไฮเปอร์ลิ้งค์ เพื่อให้สามารถเปิดไปยังหน้าเพจต่างๆ ได้อย่างง่ายดายและถูกจัดเก็บไว้ใน www. (เวิลด์ไวด์เว็บ) โดยเว็บไซต์ส่วนใหญ่นั้นก็มีทั้งเว็บไซต์ที่เปิดให้เข้าชมได้ฟรี และเว็บไซต์ที่ต้องสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการ จึงจะเข้าใช้งานเว็บได้ ซึ่งข้อมูลในเว็บก็จะมีหลากหลายแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการนำเสนอของเจ้าของเว็บไซต์ การเรียกดูเว็บไซต์จะเรียกดูผ่านทางซอฟต์แวร์ ในลักษณะของเบราว์เซอร์

กลับเมนูย่อย

 

3. Web browser
เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการท่องเว็บ และมีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษา HTML ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ นอกจากนี้ยังสามารถดูเอกสารในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ ไม่ว่าเว็บเหล่านั้นจะแสดงข้อมูลในลักษณะของภาพ ระบบมัลติมีเดีย รูปภาพหรือข้อความ ในปัจจุบันเว็บเบราว์เซอร์ที่รองรับระบบ HTML 5 สามารถอ่าน CSS 3 ได้อย่างสวยงาม และกำลังได้รับความนิยมมากที่สุด ก็มี 4 ประเภทดังนี้
Internet Explorer
Mozilla Firefox
Google Chrome
Safari

กลับเมนูย่อย

 

4. Web Hosting
Web Hosting คือ บริการที่ช่วยให้องค์กรและบุคคลทั่วไป สามารถโพสต์เว็บไซต์ หรือหน้าเว็บไว้บนอินเทอร์เน็ตได้โดยผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง หรือผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งนั้นเป็นธุรกิจที่ให้บริการเทคโนโลยีและบริการที่จำเป็นสำหรับเว็บไซต์หรือหน้าเว็บเพื่อดูในอินเทอร์เน็ตได้ โดยจะต้องฝากเว็บไซต์ไว้กับผู้ให้บริการหรือที่จัดเก็บพิเศษบนคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เมื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการดูเว็บไซต์ของคุณ สิ่งที่ต้องทำคือพิมพ์ที่อยู่เว็บไซต์หรือโดเมนลงในเบราเซอร์ บนคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นจึงจะเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของคุณและหน้าเว็บของคุณจะถูกส่งถึงพวกเขาผ่านทางเบราเซอร์ แต่ก่อนถ้าต้องการออนไลน์เว็บไซต์ของตัวเองจะต้องมีเซิร์ฟเวอร์ก่อน แต่การมีเซิร์ฟเวอร์นั้นต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการดูแล อีกทั้งยังมีราคาสูง อย่างนั้นคนจึงหันมาให้ความสนใจกับบริการ Web Hosting กันมากกว่า

กลับเมนูย่อย

 

5. URL
URL คืออะไร
URL ย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator คือ ที่อยู่ (Address) ของข้อมูลต่างๆในInternet เช่น ที่อยู่ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันเว็บไซต์ เป็นแหล่งที่อยู่ใหม่ของหลายๆธุรกิจช่องทางที่สามารถเข้าถึงได้อย่างง่าย และยังสามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาเว็บไซต์เป็นแหล่งที่รวมรวบข้อมูลต่างๆไว้และแสดงให้เห็นผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ปกติแล้วเว็บไซต์จะมีชื่อและที่อยู่ของมันเองเพื่อให้ระบุได้ว่าเป็นเว็บไซต์ของใครโดยชื่อของเว็บไซต์หรือ Domain name(โดเมน เนม) จะไม่ซ้ำกันของแต่ละเว็บซึ่งการเปิดให็บริการเว็บไซต์จะมีการจดโดเมนเนมก่อนจึงจะสามารถให้บริการได้
ปัจจุบันได้มีการแบ่งกลุ่มของโดเมนออกเป็นแต่ละประเภท
การแบ่งกลุ่มโดเมนของสหรัฐอเมริกา

com : กลุ่มธุรกิจการค้า
เช่น www.hotmail.com, www.clipmass.com
.org : หน่วยงานไม่หวังผลกำไร
เช่น thai.tourismthailand.org, th.wikipedia.org
.net : หน่วยงานเกี่ยวกับเครือข่าย
เช่น www.flashfly.net, www.thailand.net
.mil : หน่วยงานทหาร
เช่น www.uscg.mil, www.dla.mil
.gov : หน่วยงานรัฐบาล
เช่น www.cia.gov, www.state.gov
.edu : สถาบันการศึกษา
เช่น www.bbc.th.edu, www.kasemptc.th.edu
การแบ่งกลุ่มของประเทศอื่นๆ

.co : ภาคเอกชน
เช่น www.cointernet.co.th, www.pizza.co.th
.or : องค์กรไม่หวังผลกำไร
เช่น www.redcross.or.th, www.bot.or.th
.go : หน่วยงานราชการ
เช่น www.immigration.go.th, www.customs.go.th
.ac : สถาบันการศึกษา
เช่น www.satriwit.ac.th, www.sg.ac.th
ทั้งหมดนี้ คือที่อยู่บนเว็บ หรือ ที่อยู่อินเทอร์เน็ต ซึ่งปกติแล้วเรามักพิมพ์ยูอาร์แอลในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์เพื่อเรียกข้อมูลจากเว็บไซต์ เรียกโดยย่อว่า ยูอาร์แอล (URL)

 รูปแบบของ URL จะประกอบด้วย
http://www.mindphp.com/support/urlfaq.htm
1. ชื่อโปรโตคอลที่ใช้ (http ซึ่งย่อมาจาก HyperText Transfer Protocol)
2. ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และชื่อเครือข่ายย่อย (www.mindphp)
3. ประเภทของเวบไซต์ (.com) ซึ่งมีอยู่ หลาย ประเภท คือเช่น .com (Commercial),.edu (Educational),.org (Organizations),.net (Network), .co.th (บริษัทในประเทศไทย ดูเพิ่มเติมที่นี่) ฯลฯ
4. ไดเร็กทอรี่ (/support/)
5. ชื่อไฟล์และนามสกุล (urlfaq.htm) ความสำคัญของ URL คือเวลาเราเข้าเว็บไซต์เราก็ต้องพิมพ์ URL ลงในช่อง url address ของ web browser เช่น จะเข้าเว็บ google.comก็ต้องพิมพ์ http://www.google.com หรือ จะพิมพ์ google.com ก็ได้ไม่ต้องมี http://www.ก็ได้เดี๋ยว Browser มันจะเติมให้เราเอง ดังนั้นการอ้างอิงของข้อมูลบนอินเตอร์เนตต้องระบุ URL ให้ถูกต้อง มิฉะนั้นจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้

กลับเมนูย่อย

 

6. DNS
ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System : DNS) เป็นระบบการตั้งชื่อแบบลำดับชั้นที่ใช้กับทุกเอกลักษณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายส่วนตัว เช่น อุปกรณ์หรือบริการ
เทคโนโลยีทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งโดยปกติแล้วจะทำงานร่วมกับแม่แบบชื่อโดเมนที่น่าจดจำในขณะที่ IP addresses ใช้เพื่อสื่อสารกับบริการอื่น ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต ด้วยเหตุนี้ DNS จึงไม่จำเป็นต้องให้ผู้ใช้จดจำ IP addresses ที่ไม่ซ้ำกัน
ซึ่งมักถูกเรียกว่า "สมุดโทรศัพท์ของอินเทอร์เน็ต" DNS ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจำที่อยู่เว็บไซต์ได้ เช่น www.itpro.co.uk แทนที่จะเป็นจำนวนชุดหมายเลข ตัวคั่นด้วยจุดในกรณีของ IPv4 หรือเครื่องหมายทวิภาคในกรณีของ IPv6
DNS ทำงานอย่างไร?
DNS หากพิจารณาอย่างผิวเผินนั้นมันดูเรียบง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากมันซ่อนกระบวนการการทำงานที่ซับซ้อนหลายอย่างซึ่งอาจอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดนั่นก็คือการทำงานร่วมกันระหว่างฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกัน
กระบวนการจะเริ่มต้นเมื่อผู้ใช้เข้าสู่เว็บไซต์ในเบราว์เซอร์ url ของพวกเขา ซึ่งมันจะแจ้งให้คอมพิวเตอร์ของพวกเขาออกแบบสอบถามผ่านทางอินเทอร์เน็ตไปยังเซิร์ฟเวอร์เป้าหมายที่เรียกว่าตัวแก้ไขแบบเรียกซ้ำ(Recursive resolver) และนี่จะเป็นผลทำให้คอมพิวเตอร์ถามคำค้นหาว่า IP addresses คืออะไร แล้วเซิร์ฟเวอร์จะออกแบบสอบถามเพิ่มเติมผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อพยายามแก้ไขตามคำขอของผู้ใช้ ตัวแก้ไขแบบเรียกซ้ำจะเรียกใช้แบบสอบถามที่เรารู้จักในชื่อว่ารูทเซิร์ฟเวอร์ (Root server) ซึ่งมันจะทำหน้าที่เหมือนกับดัชนี ซึ่งรูทเซิร์ฟเวอร์สามารถกำหนดตัวแก้ปัญหาแบบเรียกซ้ำไปยังโดเมนระดับสูงสุด (Top level domain : TLD) ที่ถูกต้อง (TLD คือ เซิร์ฟเวอร์โฮสต์ที่เป็นส่วนสุดท้ายของ URL เช่น .com, .co.uk หรือ. fr)
จากนั้นตัวแก้ปัญหาแบบเรียกซ้ำจะถูกนำไปยังเนมเซิร์ฟเวอร์ (Name server) ที่เชื่อถือได้ ซึ่งจะนำไปสู่ชิ้นส่วนสุดท้ายของปริศนาโดยจับคู่ URL ทั้งหมด เช่น www.itpro.co.uk กับIP addresses ของมัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้และจะถูกส่งกลับไปยังเว็บเบราว์เซอร์ดั้งเดิม
กระบวนการทั้งหมดนี้ดูค่อนข้างซับซ้อน หากแต่ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้นก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
เซิร์ฟเวอร์ DNS คืออะไร?
เซิร์ฟเวอร์ DNS เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ประกอบเป็นระบบชื่อโดเมน ดังที่แสดงไว้ข้างต้น พวกนี้เป็นตัวแก้ปัญหาแบบเรียกซ้ำ (Recursive Resolver) รูทเซิร์ฟเวอร์ (Root Server) ทีแอลดีเนมเซิร์ฟเวอร์ (TLD Name Server) และเซิร์ฟเวอร์ที่เชื่อถือได้ (Authoritative Server) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Domain Name server
มีเซิร์ฟเวอร์ DNS DNS 13 ตัวที่แพร่กระจายไปทั่วโลกซึ่งตัวแก้ไขแบบเรียกซ้ำทุกตัวรู้ องค์กรเหล่านี้ดูแลโดยองค์กรไม่แสวงหากำไรที่รู้จักกันในชื่อ Internet Corporation สำหรับชื่อและหมายเลขที่กำหนด (ICANN) โดยตัดสินใจว่าชื่อไหนของ TLD name server จะเป็นตัวแก้ปัญหาแบบเรียกซ้ำที่ควรติดต่อตาม TLD ของ URL
TLD Name Server ซึ่งถูกจัดการโดยสาขาของ ICANN ที่รู้จักกันในชื่อ Internet Assigned Numbers Authority (IANA) จะเป็นหนึ่งในสองประเภทคือที่มีข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ที่ลงท้ายด้วย TLD ทั่วไปเช่น .com, .org หรือ .net หรือกับอีกอย่างคือที่มีข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ที่ลงท้ายด้วย TLD รหัสประเทศเช่น .cn, .za หรือ .uk
สุดท้ายนี้เซิร์ฟเวอร์ชื่อโดเมนหรือเซิร์ฟเวอร์ชื่อที่เชื่อถือได้จะมีข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับชื่อโดเมนที่ให้บริการ ซึ่งนี่เป็นวิธีที่จะแก้ไขส่วนสุดท้ายของปริศนาแบบสอบถาม DNS
จะเกิดอะไรขึ้นหาก DNS ล้มเหลว? การล้มเหลวของ DNS เป็นเหตุการณ์ที่พบเจอบ่อยและอาจเป็นปัญหาเพียงชั่วคราวขณะโดเมนถูกถ่ายโอนไปยังผู้ให้บริการโฮสต์รายใหม่หรืออาจเกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น การโจมตีทางไซเบอร์หรือการหยุดพักเครือข่ายที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ เหตุผลที่คุณจะต้องทนทุกข์จากความล้มเหลวของ DNS นั้นก็คือชื่อโดเมนไม่ตรงกับ IP addresses หรือการที่ระบบไม่พบการจับคู่ระหว่างทั้งสอง  ถึงแม้ว่านี่จะทำให้การล้มเหลวของ DNS ดูง่ายต่อการแก้ไข แต่ก็อาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะมันสามารถส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้อย่างรุนแรง ตัวอย่างเช่น องค์กรที่เป็นโฮสต์แอพหรือบริการบนอินเทอร์เน็ต หากเกิด DNS เกิดล้มเหลว อาจส่งผลกระทบทางด้านการเงินที่สำคัญอย่างการที่บริษัทไม่สามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้
แม้ว่าจะมีวิธีการแก้ไขความล้มเหลวของ DNS แต่สิ่งสำคัญคือคุณต้องติดตั้ง DNS failoverบางประเภท เพราะหาก DNS ประสบปัญหาขัดข้องก็สามารถสลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ DNS อื่นได้อย่างง่ายดายโดยที่ผู้ใช้จะไม่ทราบเลยว่าระบบมีปัญหาอยู่ ตัวเลือกอื่นสำหรับการรักษาระบบและบริการของคุณให้พร้อมใช้งานคือการติดตั้งการตรวจสอบ DNS บางประเภทเพื่อให้แน่ใจว่าคุณสามารถรู้ถึงปัญหาได้เร็วพอที่จะสามารถแก้ไขปัญหาก่อนที่ลูกค้าของคุณจะสังเกตถึงปัญหาที่เกิดขึ้น

กลับเมนูย่อย

 

7. Home page
Home page คืออะไรโฮมเพจ คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆอีกด้วย
ในหน้าโฮมเพจของเว็บไซต์ มักประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1.โลโก้ (logo) คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เข้าชมสามารถจดจำเว็บไซต์ของเราได้ นอกจากนี้แล้วโลโก้ยังช่วยให้เว็บไซต์ของเราดูมีเอกลักษณ์อีกด้วย
2. เมนูหลัก (link menu) เป็นจุดที่เชื่อมโยงข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งรวบรวมไว้ในรูปแบบของปุ่มเมนู หรือข้อความที่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถรับรู้เรื่องราวที่น่าสนใจของเว็บไซต์ได้ ควรมีข่าวใหม่ๆ เนื้อหาใหม่ๆมาตลอด
3. โฆษณา (Banner) เป็นส่วนที่สำคัญอีกเช่นเดียวกัน  เพราะเว็บไซต์ที่มีโฆษณาจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และช่วยกระตุ้นความสนใจเพราะมักใช้ภาพเคลื่อนไหว (Gif Animation)  ประกอบซึ่งจะทำให้เว็บไซต์ของเราดูตื่นตาตื่นใจมากขึ้น จากการวิจัยพบว่าภาพเคลื่อนไหวยังช่วยให้เว็บไซต์ของเราดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้นถึง 30%  แต่ไม่ควรมีโฆษณามากเกินไปและควรจัดวางตำแหน่งให้เหมาะสมอีกด้วย
4. ภาพประกอบและเนื้อหา (content)  เป็นส่วนที่ให้สาระความรู้กับผู้เข้าชม ซึ่งเนื้อหาที่ให้จะต้องมีขนาดพอเหมาะไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป  ควรมีการปรับเนื้อหาให้ใหม่ทันกับปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา จัดวางเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ที่เข้ามาชมเนื้อหา และการมีภาพที่เกี่ยวข้องประกอบอยู่ยิ่งจะทำให้เว็บไซต์เป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
5. การใช้สีให้เหมาะสมกับหน้าโฮมเพจ (color)เพราะสีแต่ละสีจะให้ความรู้สึกที่มีผลด้านอารมณ์กับผู้เข้าชมในลักษณะที่แตกต่างกันไป
การสร้างโฮมเพจ สามารถทำได้หลายวิธีเช่น
1. ใช้ Web Hosting ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่ให้บริการจัดเก็บข้อมูล โดยบางเว็บไซต์ให้บริการในการสร้างโฮมเพจสำเร็จรูปกับผู้ต้องการในการมีโฮมเพจ ซึ่งจะมีรูปแบบของโฮมเพจให้เลือกได้ตามที่ต้องการ หรือต้องการให้ออกแบบตามความประสงค์ของผู้ใช้บริการก็ได้
2. ใช้โปรแกรมสร้างเว็บเพจ เป็นการสร้างโฮมเพจโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้าง ทำให้สามารถสร้างตาราง จัดวางตำแหน่งข้อความหรือรูปภาพได้สะดวก ตลอดจนการปรับแต่งแก้ไขจะทำได้ง่าย ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่โปรแกรม Dreamweaver, FrontPage, Go Live หรือ Home Site เป็นต้น
3.โปรแกรมภาษา HTML และ JavaScript การสร้างโฮมเพจโดยใช้โปรแกรมภาษา HTML และ JavaScript นั้น ผู้สร้างโฮมเพจจะต้องมีความสามารถและความชำนาญในการเขียนโปรแกรมได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการสร้างโฮมเพจด้วยวิธีนี้ เป็นการพิมพ์คำสั่งและข้อมูลที่ต้องการแสดงบนโฮมเพจพร้อมกัน

กลับเมนูย่อย

 

8.hyperlink การเชื่อมโยงหลายมิติ หรือ ไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink) นิยมเรียกโดยย่อว่า ลิงก์ (link) คือคำหรือวลีต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารข้อความ ใช้สำหรับเปิดเอกสารอื่นที่เชื่อมโยงด้วยวิธีการคลิกลงบนคำหรือวลีนั้น โดยเฉพาะกับเว็บเพจซึ่งจะทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ ข้อความที่เป็นลิงก์มักจะปรากฏเป็นสีหรือรูปแบบที่โดดเด่นกว่าข้อความรอบข้าง ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถคลิกบนลิงก์เพื่อเปลี่ยนหน้าไปยังเว็บเพจที่กำหนดไว้ แทนที่จะพิมพ์ในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์โดยตรง ไฮเปอร์ลิงก์สามารถใช้เป็นการอ้างอิงภายในเอกสารข้อความหลายมิติ นอกจากนี้การคลิกบนลิงก์อาจเป็นการเรียกใช้งานสคริปต์ที่เขียนไว้โดยผู้พัฒนาเว็บก็ได้

กลับเมนูย่อย

 

 

9. Anchor
แม้แต่เว็บเพจที่มีเนื้อหายาวๆ ก็สามารถจัดทำสารบัญไว้ด้านบนเว็บเพจ หรือจะสร้างเป็นเมนู แล้วสร้าง Hyperlink ไปยังส่วนต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าชมสะดวกต่อการเข้าใช้งานได้เช่นกัน
Hyperlink หรือ ที่หลายคนเรียกว่า Link คือตัวเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ต โดยจะมีลักษณะเป็น ข้อความ, คำ และรูปภาพ ซึ่งมีความโดนเด่นกว่าตัวอื่นๆ และทำหน้าแทนข้อความเดิมๆ ที่อยู่บนเว็บเพจ โดย Hyperlink ถือเป็นส่วนหนึ่งของ GUI Widget นอกจากนี้ยังสามารถใส่เป็นข้อความสีรวมทั้งลูกเล่นต่างๆ ได้

กลับเมนูย่อย

10.FTP
FTP ย่อมาจาก (File Transfer Protocol) คือ รูปแบบมาตรฐานบนโครงข่าย (standard network protocol) ชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการส่งไฟล์ หรือรับไฟล์ (receive file) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่าไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย
ที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่า โฮสติง (Hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ (server) โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน โปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่นโปรแกรม ไฟล์ซิลลา CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น

โปรแกรมที่ใช้สำหรับส่งแฟ้ม (Send) หรือรับแฟ้ม (Receive) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ (Client Computer) กับเครื่องบริการ (Web Hosting) ผู้ให้บริการมักเปิดบริการ Port 21 พร้อมสร้างรหัส

ผู้ใช้ (User Name) และรหัสผ่าน (Password) ให้ผู้ใช้แต่ละคนได้เป็นเจ้าของพื้นที่แต่ละห้อง (User Folder) เมื่อส่งแฟ้มชื่อ index.html หรือ default.asp ตามที่เครื่องบริการกำหนด เข้าไปในห้องสำหรับเผยแพร่เว็บเพจ ผู้ใช้ทั่วไปก็จะเข้าถึงข้อมูลได้ตามที่ผู้พัฒนาเว็บเพจคาดหวัง ส่งแฟ้มเข้าเครื่องบริการได้อย่างไร (โดยทั่วไป)
วิธีที่ 1: ใช้ File Manager ใน Control Panel
ผู้ให้บริการ Web Hosting ทุกรายมีระบบ Control Panel เช่น cpanel, direct admin หรือ plesk ผู้ ใช้จะได้รับ e-mail แจ้งว่าเข้าใช้ Control Panel ได้อย่างไร และจะพบกับ File Manager ที่ทำให้ท่านเข้าไปจัดการกับระบบแฟ้ม และห้องต่างๆ ได้ รวมถึงการส่งแฟ้ม หรือนำแฟ้มออกมาจากเครื่อง เป็นต้น
วิธีที่ 2: ใช้ DOS FTP on Command Line
ในคอมพิวเตอร์ทุกระบบปฏิบัติการ มักมีโปรแกรม FTP ที่ทำงานใน Text Mode ท่านสามารถพิมพ์คำสั่ง ftp ตามด้วยชื่อ Host เพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องบริการ และส่งแฟ้มได้ทันที ตัวอย่างคำสั่งอยู่ท้ายสุดของเว็บเพจหน้านี้
วิธีที่ 3: FTP Client Program
ต้อง Download โปรแกรม เช่น filezilla หรือ ws_ftp32 เป็นต้น มาติดตั้งในคอมพิวเตอร์ แล้วกำหนดชื่อโฮส ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านโปรแกรมจะเข้าเชื่อมต่อกับเครื่องบริการจากนั้นผู้ใช้ก็เลือกแฟ้มที่จะส่ง หรือรับ กับเครื่องบริการได้โดยสะดวก

กลับเมนูย่อย