1. WWW
เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) หรือ ที่เรียกว่าเว็บ คือ ชุดของเว็บไซต์หรือหน้าเว็บที่เก็บไว้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์และเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ในระบบผ่านอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์เหล่านี้มีหน้าข้อความรูปภาพดิจิทัลไฟล์เสียงวิดีโอ ฯลฯ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาของไซต์เหล่านี้ได้จากส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยใช้อุปกรณ์ของตนเช่นคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปโทรศัพท์มือถือเป็นต้น WWW พร้อม ด้วยอินเทอร์เน็ตช่วยให้สามารถดึงและแสดงข้อความและสื่อไปยังอุปกรณ์ของคุณ
เอกสารสำเร็จรูปของเว็บคือหน้าเว็บที่จัดรูปแบบเป็น HTML และเชื่อมต่อกันด้วยลิงก์ที่เรียกว่า “ไฮเปอร์เท็กซ์” หรือไฮเปอร์ลิงก์และเข้าถึงโดย HTTP ลิงก์เหล่านี้คือการเชื่อมต่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงชิ้นส่วนข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ไฮเปอร์เท็กซ์ให้ประโยชน์ในการเลือกคำหรือวลีจากข้อความและเข้าถึงหน้าอื่น ๆ ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับคำหรือวลีนั้น
หน้าเว็บจะได้รับที่อยู่ออนไลน์ที่เรียกว่า Uniform Resource Locator (URL) คอลเลกชันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าเว็บที่อยู่ใน URL เฉพาะที่เรียกว่าเว็บไซต์เช่นwww.facebook.com , www.google.com ฯลฯ ดังนั้นเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเหมือนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่มีหน้าจะถูกเก็บไว้ใน เซิร์ฟเวอร์หลายแห่งทั่วโลก
เว็บไซต์ขนาดเล็กเก็บหน้าเว็บทั้งหมดไว้บนเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียว แต่เว็บไซต์หรือองค์กรขนาดใหญ่วางหน้าเว็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ที่แตกต่างกันในประเทศต่างๆดังนั้นเมื่อผู้ใช้ในประเทศค้นหาไซต์ของตนพวกเขาจะได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็วจากเซิร์ฟเวอร์ที่ใกล้ที่สุด
ดังนั้นเว็บจึงมีแพลตฟอร์มการสื่อสารสำหรับผู้ใช้ในการดึงข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ไม่เหมือนหนังสือที่เราย้ายจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่งตามลำดับบนเวิลด์ไวด์เว็บเราติดตามเว็บลิงก์ไฮเปอร์เท็กซ์เพื่อเยี่ยมชมหน้าเว็บและจากหน้าเว็บนั้นเพื่อย้ายไปยังหน้าเว็บอื่น คุณต้องมีเบราว์เซอร์ที่ติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ของคุณเพื่อเข้าถึงเว็บ

กลับสู่เมนูย่อย

 

2. Web Site
เว็บไซต์ (Website) คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่างๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ คำที่ใช้เรียกกลุ่มของเว็บเพจ ดังนั้นภายในเว็บไซต์จะประกอบไปด้วยโฮมเพจและเว็บเพจ โดยเว็บไซต์ต้องมีการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์นั้นๆ ไว้แล้ว เช่น http://www.google.com, http://www.mkp.ac.th เป็นต้น โดยเว็บไซต์แบ่งตามลักษณะการใช้งานและการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้เป็น 2 ชนิด คือ
Static Website คือ เว็บไซต์ที่ตอบสนองทางเดียว ไม่มีการติดต่อกับฐานข้อมูล และไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ เป็นการนำเสนอข้อมูลแบบทางเดียว เหมือนกับการอ่านหนังสือ และเนื่องจาก Static Website มีการนำเสนอข้อมูลแบบตายตัวนี้เอง จึงไม่เป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นเว็บไซต์ประเภทนี้มากนัก เนื่องจากไม่สามารถบริหารข้อมูลได้สะดวก จึงทำให้เว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยวิธีนี้ ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ และปิดตัวเองไป หรือพัฒนาใหม่ในรูปแบบ
1. Static Website
หมายถึง เว็บไซต์ที่สร้างด้วยภาษา HTML ธรรมดา และบันทึกเป็นไฟล์นามสกุล .html    เนื้อหาข้อความ รูปภาพในหน้าเว็บเพจนั้นจะเป็นไปตามที่เราเขียนกำหนดไว้
เมื่อมีผู้เรียกดูหน้าเว็บเพจนั้น  Web Server ก็จะส่งไฟล์นั้นไปให้ยังเครื่องที่ร้องขอ และแสดงผลออกทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์บนเครื่องของผู้ชมนั้น
Static Website เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดไม่ใหญ่ จำนวนหน้าเว็บเพจไม่มากไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบ่อยๆ  และไม่มีการติดต่อฐานข้อมูล
ข้อดีของเว็บรูปแบบนี้ คือ เราสามารถกำหนดรูปแบบการตกแต่ง และเนื้อหา ของแต่ละหน้าได้ตามต้องการ  แต่ก็ควรควบคุมสไตล์ของแต่ละหน้าให้เหมือนกันด้วย อย่าให้หน้าใดโดดจนคิดว่าเป็นคนละเว็บไซต์กัน ส่วนข้อเสีย ก็คือ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงยุ่งยาก จะต้องแก้ไขกับไฟล์หน้าเว็บเพจนั้นๆ เมื่อแก้ไขแล้ว ก็ต้อง Upload ไฟล์นั้นขึ้นไป Web Server ใหม่ทุกครั้ง  และเว็บรูปแบบนี้จะไม่สามารถใช้งานฐานข้อมูลได้
2. Dynamic Website
หมายถึง เว็บไซต์ที่หน้าเว็บเพจสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเองได้ โดยไม่ต้องเขียนแต่ละหน้าเว็บเพจเอง  เช่น กระดานข่าว (Webboard), ระบบสืบค้นข้อมูล
สังเกตได้ว่า เมื่อมีผู้มาตั้งกระทู้ และตอบกระทู้ ก็จะเกิดหน้าเว็บเพจนั้นๆ ขึ้นได้เอง โดยที่เราไม่ได้เป็นคนสร้างหน้าเว็บเพจเหล่านั้นเอง
เว็บไซต์รูปแบบนี้จะถูกสร้างด้วยภาษา Script แบบ Server Side Script เช่น PHP, ASP, ASP.Net, JSP และอื่นๆ  ไฟล์เอกสารที่ได้จะมีนามสกุล .php, .asp เป็นต้น

กลับสู่เมนูย่อย

 

3. Web browser
เว็บบราวเซอร์ คือ โปรแกรมที่สามารถแปลงภาษาของคอมพิวเตอร์ (HTML) ให้เป็นเว็บเพจที่มนุษย์สามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ โดยเว็บบราวเซอร์นั้นจะทำการเปลี่ยนแปลงชุดคำสั่ง HTML ให้ออกมาปรากฏที่หน้าเว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งในส่วนของการเรียกใช้งานของเว็บบราวเซอร์นั้นจะได้รับโดเมนเนม (Domain Name) จากผู้ใช้งาน และมีการแปลงโดเมนเนมให้กลายเป็น IP Address ซึ่ง IP นี้มีลักษณะเป็นตัวเลข ส่งผลให้ต้องใช้งานเว็บบราวเซอร์ในการแปลงโดเมนให้กลายเป็น IP เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้น และหลังจากที่เว็บบราวเซอร์ได้รับ IP Address ก็จะทำการติดต่อกับ Server เพื่อทำการดึงข้อมูลของเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานทำการขอมา และพร้อมกันนั้นก็แปลงภาษา HTML เป็นหน้าเว็บเพจตามองค์ประกอบของคำสั่ง HTML
ประวัติความเป็นมาของ Web Browser
เว็บบราวเซอร์ เกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจาก เซอร์ทิมโมที จอห์น เบอร์เนิร์ส ลี (Sir Timothy John Berners-Lee) และเว็บบราวเซอร์ตัวแรกนั้นมีชื่อว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web Consortium เขียนย่อว่า WWW) ซึ่งกลายเป็นชื่อเรียกต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน และในอดีตยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรนัก จนกระทั่งศูนย์วิจัยเอ็นซีเอสเอ (NCSA) ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา ได้ทำการคิดค้นและสร้างโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ขึ้นใหม่ที่มีชื่อว่า โมเสก (MOSAIC) เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่ดูเว็บเชิงกราฟิก อีกทั้งยังเป็นที่มาของเว็บบราวเซอร์ เน็ตสเคป (Netscape) นั่นเป็นเพราะว่าทีมงานที่ทำการพัฒนาโมเสกได้ออกมาตั้งบริษัทเน็ตสเคป เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว้บบราวเซอร์อย่างจริงจังนั่นเอง และเหล่านี้จึงส่งผลให้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเว็บบราวเซอร์ เช่นเดียวกันไมโครซอฟท์ยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอที ได้ทำการเปิดตัวเว็บบราวเซอร์ที่ชื่อว่า อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ (Internet Explorer : IE) จึงทำให้เกิดเป็นการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างมากจนกระทั่งเน็ตสเคปต้องประกาศปิดตัวลงไปในวันที่ 1มีนาคา 2551 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า IE นั้นจะมีผู้ใช้งานมากที่สุด เพราะหลังจากนั้นก็มีคู่แข่งรายใหญ่พัฒนาเว็บบราวเซอร์ออกมาแข่งขันอย่างมากมาย
ประโยชน์ของเว็บบราวเซอร์
เว็บบราวเซอร์เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเว็บไซต์เพื่อค้นหาข้อมูล ทำธุรกิจหรือธุรกรรมต่างๆ เป็นต้น ประกอบกับในปัจจุบันเมื่อสังคมของเราเข้าสู่ยุคอินเทอร์เน็ตการใช้งานเว็บบราวเซอร์จึงเป็นที่นิยม และถือเป็นสิ่งแรกที่ผู้ใช้งานต้องทำการเข้าใช้เพื่อเป็นการส่งต่อไปยังเว็บไซต์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เราต้องการเข้าใช้ต่อไป

กลับสู่เมนูย่อย

 

 


4. Web Hosting
โฮสติ้ง หรือ เว็บโฮสติ้ง หรือมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษเเตกต่างกันไปเช่น (Web Hosting หรือ Hosting, Host) คือ พื้นที่การรับฝากเว็บ เพื่อออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต หรือเรียกว่า HSP ย่อมาจาก Hosting Service Provider เป็นเทคโนโลยีสำหรับงานสร้างเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์นั้นสามารถมองเห็นได้บนอินเตอร์เน็ต
โฮสติ้ง หรือ เว็บโฮสติ้ง จึงเป็นพื้นที่การใช้งานในระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับเว็บไซต์ทั่วไปแล้ว โฮสติ้งมีลักษณะที่เปรียบได้เหมือนกับ ฮาร์ดดิสก์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั่นเอง โดยรูปแบบการให้บริการ จะอนุญาตให้ผู้ใช้บริการสามารถนําเว็บเพจของตนเอง นําขึ้นไปออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเราจะพบว่าทุกเว็บไซต์ที่ออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต จะต้องได้รับการฝากหรือเก็บไว้บนคอมพิวเตอร์พิเศษที่เรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ Web servers ซึ่ง เซิร์ฟเวอร์ นี้ จะทําหน้าที่เป็นตัวติดต่อซึ่งกันและกันและทุกหนทุกแห่งตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้เว็บไซต์ของเรา สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลาในโลกที่มีการต่อเชื่อม การเข้าชมเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ตง่ายๆ ก็คือการพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ หรือชื่อโดเมน (Domain Name) ที่เรารู้จัก ยกตัวอย่างเช่น www.keepidea.net , www.evohosting.in.th โดยผู้ให้บริการได้ทําการติดตั้งระบบทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อมีบุคคลที่พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ดังกล่าว ชื่อนั้นจะถูกส่งตามเส้นทาง จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปเรื่อยๆจนกระทั่งไปพบเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่เว็บ
ไซต์นั้นได้ฝากเว็บไซต์ไว้ (Host computer) ภายในไม่กี่เสี้ยววินาทีก็จะสามารถเปิดเว็บดังกล่าวได้ ดังนั้นการที่จะนําเว็บไซต์ของเราออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต สิ่งแรกที่จําเป็นจะต้องมี นั่นก็คือเว็บเซิร์ฟเวอร์นั่นเอง แต่ทว่าการติดตั้งระบบ เว็บเซิร์ฟเวอร์เป็น ของตนเองนั้น เราสามารถที่จะทําได้แต่เพราะว่ามีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมากและที่สําคัญยิ่งไปกว่านั้น จําเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพราะเป็นเทคนิคชั้นสูง ต้องคอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นด้วยเหตุจํากัดดังกล่าว บริษัทส่วนใหญ่จีงไม่สามารถดําเนินการลงทุนเพื่อเป็นเจ้าของเองได้ และนี่คือเป็นที่มาของบริการของเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting หรือ Hosting, Host)
เว็บโฮสติ้งที่ดีนั้น ดังที่กล่าวมาข้างต้น เพราะต้องมีบุคลากรที่ชํานาญการ จึงต้องให้บริการทั้งเครื่องไม้เครื่องมือ ที่สามารถอํานวยความสะดวก มีความทันสมัย และให้คําแนะนําแก่ผู้ใช้บริการอย่างทันท่วงที เพื่อให้ลูกค้าสามารถดูแลและแก้ไขเว็บไซต์ของตนเองได้ตลอดเวลา

กลับสู่เมนูย่อย

 

 

5.URL
URL ย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator คือ ที่อยู่ (Address) ของข้อมูลต่างๆในInternet เช่น ที่อยู่ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ตซึ่งประกอบไปด้วย 5 ส่วน คือ
1.ชื่อโปรโตคอลที่ใช้ คือ ในการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำต้องมีการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายเดียวกันนี้ อาจจะมีฮาร์ดแวร์,ซอฟท์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อทำการส่งข้อมูลถึงกันและตีความหมายได้ตรงกัน จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกัน โปรโตคอล ( Protocol ) คือระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตัวโปรโตคอลที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ TCP/IP นอกจากนี้ยังมีการออกแบบโปรโตคอลตัวอื่นๆขึ้นมาใช้งานอีก เช่น โปรโตคอล IPX/SPX,โปรโตคอล NetBEUI และ โปรโตคอล Apple Talk
2.ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และชื่อเครือข่ายย่อย คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น  มาตรฐานของ IP Address ปัจจุบันเป็นมาตรฐาน version 4 หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า IPv4  วึ่งกำหนดให้ ip address มีทั้งหมด 32 bit  หรือ 4 byte  แต่ล่ะ  byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ภายในหมายเลขที่เราเห็นยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
- Network Address หรือ Subnet Address
- Host Address
3.ประเภทของเวบไซต์ (.com) ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือเช่น.com (Commercial),.edu (Educational),.org (Organizations),.net (Network) ฯลฯ
4.ไดเร็กทอรี่ คือ สารบัญที่เก็บรวบรวมรายชื่อของไฟล์ และข้อมูลบางอย่าง ที่สำคัญของไฟล์เอาไว้ในระบบปฏิบัติการทุกระบบจะต้องมีไดเร็กทอรี่เพื่อเก็บรายชื่อไฟล์ทั้งหมดในระบบไว้ ผู้ใช้สามารถตรวจดูไฟล์ต่างๆ ได้จากไดเร็กทอรี่ ไดเร็กทอรี่เองก็ถือว่าเป็นไฟล์เช่นกัน โครงสร้างของไดเร็กทอรี่ประกอบด้วยหน่วยย่อยหลายหน่วย ใน 1 หน่วยจะเก็บข้อมูลของไฟล์ 1 ไฟล์ เช่น ชื่อ ส่วนขยาย ชนิด ขนาด และอื่นๆ
5.ชื่อไฟล์และนามสกุล(filename extension)เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะหากมีความผิด พลาด  เช่น เมื่อนามสกุลหายไปคอมพิวเตอร์ก็ไม่รู้ว่าจะเรียกโปรแกรมไหนมาทำงานกับไฟล์ ดังกล่าว

กลับสู่เมนูย่อย

 

 

 

6.FTP
FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือ โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้ FTP ที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Filezilla,CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น
FTP แบ่งเป็น 2 ส่วน
1. FTP server  เป็นโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการ FTP หากมีการเชื่อมต่อจากไคลแอนเข้าไป
2. FTP client  เป็นโปรแกรม FTP ที่ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ user ทั่วๆไป ทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยัง FTP server และทำการอัพโหลด ,ดาวน์โหลดไฟล์ หรือ จะสั่งแก้ไขชื่อไฟล์, ลบไฟล์ และเคลื่อนย้ายไฟล์ก็ได้เช่นกัน
ความสำคัญของ FTP
โดยปกติเมื่อเราต้องการทำเว็บไซต์ไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องนึกถึงและขาดไม่ได้คือ Hosting หรือ Server ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก การที่เว็บไซต์ของเราสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีหยุดนั้น ก็เพราะ Hosting ไม่เคยปิดนั่นเอง ส่วนการสร้างเว็บไซต์เกิดจากการเขียน Code โปรแกรม ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษา HTML , PHP , ASP , ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องนำไฟล์ที่เราเขียนเสร็จเรียบร้อยไปใส่บน Hosting เพื่อสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน แต่ด้วยหนทางที่อยู่ไกลกันระหว่างเรากับ Hosting ที่เราขอใช้บริการไว้ เราจึงต้องใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ ในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา กับ Hosting ซึ่งเทคโนโลยีนั้นคือ FTP นั่นเอง

กลับสู่เมนูย่อย

 

 

7.DNS
DNS (Domain Name System หรือ Domain Name Server) คือ ระบบที่มีไว้สำหรับบริหารจัดการข้อมูลของชื่อโดเมนเนม (Domain Name) และ ทำหน้าที่ในการแปลงชื่อโดเมนเนมดังกล่าวเป็นหมายเลขไอพีแอดเดรส (IP Address) เพื่อนำหมายเลขไอพีดังกล่าวไปติดต่อยัง Sever อื่น ๆ ที่ต้องการต่างๆ เช่น Sever Email Hosting , Server Web Hosting เป็นต้น
สรุปกันง่ายๆ Domain Name ก็คือชื่อเว็บไซต์ของเราที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ แล้วใช้งานได้สะดวก ไม่จำเป็นต้องใช้งานเป็น IP เพราะยากต่อการจดจำ แต่ในทางเทคนิค ระบบการทำงานเชื่อมต่อระหว่าง Server ไม่สามารถใช้ชื่อโดเมนในการสื่อสารได้ จึงต้องมี DNS มาทำหน้าที่การแปลงชื่อโดเมนเนมดังกล่าวเป็นหมายเลขไอพีแอดเดรส (IP Address) นั้นเอง
ขั้นตอนการทำงานของ DNS
ในขณะที่มีผู้ใช้งาน เรียกใช้งาน URL : Domain  เช่น www.sanook.com ระบบจะไม่สามารถพาไปที่ Web ดังกล่าวได้ เนื่องจากการทำงานของ Server จะไม่เข้าใจ URL ดังกล่าว ระบบจะเข้าใจ ตัวเลข IP เท่านั้น จึงต้องมีการแปลง URL : www.sanook.com เป็น IP 203.151.129.219 ก่อน เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานเว็บดังกล่าวได้ ซึ่งตัวหลักสำคัญที่จะกล่าวต่อไปนี้คือการทำงานของ Domain Name System (DNS) นั้นเอง
ระบบ DNS จะมี การเก็บชื่อและ IP Address ของ Server ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบลักษณะการทำงานจะเป็นแบบ Client/Server โดยที่ตัว Server จะเป็นตัวเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เรียกว่าเป็น DNS Server

กลับสู่เมนูย่อย

 

 

8.Homepage
โฮมเพจ คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆอีกด้วย
ในหน้าโฮมเพจของเว็บไซต์ มักประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1.โลโก้ (logo) คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เข้าชมสามารถจดจำเว็บไซต์ของเราได้ นอกจากนี้แล้วโลโก้ยังช่วยให้เว็บไซต์ของเราดูมีเอกลักษณ์อีกด้วย
2. เมนูหลัก (link menu) เป็นจุดที่เชื่อมโยงข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งรวบรวมไว้ในรูปแบบของปุ่มเมนู หรือข้อความที่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถรับรู้เรื่องราวที่น่าสนใจของเว็บไซต์ได้ ควรมีข่าวใหม่ๆ เนื้อหาใหม่ๆมาตลอด
3. โฆษณา (Banner) เป็นส่วนที่สำคัญอีกเช่นเดียวกัน  เพราะเว็บไซต์ที่มีโฆษณาจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และช่วยกระตุ้นความสนใจเพราะมักใช้ภาพเคลื่อนไหว (Gif Animation)  ประกอบซึ่งจะทำให้เว็บไซต์ของเราดูตื่นตาตื่นใจมากขึ้น จากการวิจัยพบว่าภาพเคลื่อนไหวยังช่วยให้เว็บไซต์ของเราดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้นถึง 30%  แต่ไม่ควรมีโฆษณามากเกินไปและควรจัดวางตำแหน่งให้เหมาะสมอีกด้วย
4. ภาพประกอบและเนื้อหา (content)  เป็นส่วนที่ให้สาระความรู้กับผู้เข้าชม ซึ่งเนื้อหาที่ให้จะต้องมีขนาดพอเหมาะไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป  ควรมีการปรับเนื้อหาให้ใหม่ทันกับปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา จัดวางเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ที่เข้ามาชมเนื้อหา และการมีภาพที่เกี่ยวข้องประกอบอยู่ยิ่งจะทำให้เว็บไซต์เป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
5. การใช้สีให้เหมาะสมกับหน้าโฮมเพจ (color)เพราะสีแต่ละสีจะให้ความรู้สึกที่มีผลด้านอารมณ์กับผู้เข้าชมในลักษณะที่แตกต่างกันไป

กลับสู่เมนูย่อย

 

 

9.Hyper Link
แม้แต่เว็บเพจที่มีเนื้อหายาวๆ ก็สามารถจัดทำสารบัญไว้ด้านบนเว็บเพจ หรือจะสร้างเป็นเมนู แล้วสร้าง Hyperlink ไปยังส่วนต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าชมสะดวกต่อการเข้าใช้งานได้เช่นกัน
Hyperlink หรือ ที่หลายคนเรียกว่า Link คือตัวเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ต โดยจะมีลักษณะเป็น ข้อความ, คำ และรูปภาพ ซึ่งมีความโดนเด่นกว่าตัวอื่นๆ และทำหน้าแทนข้อความเดิมๆ ที่อยู่บนเว็บเพจ โดย Hyperlink ถือเป็นส่วนหนึ่งของ GUI Widget นอกจากนี้ยังสามารถใส่เป็นข้อความสีรวมทั้งลูกเล่นต่างๆ ได้
การมี Hyperlink ในรูปแบบต่างๆ ก็เพื่อทำให้ข้อความมีความสำคัญมากขึ้นและสามารถคลิกเข้าไปเพื่อเกิดการเชื่อมต่อโดยจะส่งผลเพื่อให้ผู้ใช้งานได้เปิดหน้าเว็บเพจที่ต้องการหรือเว็บ บราวเซอร์ รวมทั้งการเปิดเอกสารต่อไปแทนการพิมพ์ในแถบเว็บ บราวเซอร์โดยตรง เพื่อให้ผู้เข้าชมสะดวกต่อการเข้าใช้งาน
ประโยชน์ของการใช้ Hyperlink
เหมาะกับ Social Network
หากเป็นเว็บไซต์โดยเฉพาะเว็บที่เป็น PHP หรือ .NET เวลาที่นำลิ้งค์มาวาง มันจะยาวลงมาและมีตัวอักษรแปลกๆ ทำให้ โอกาสที่ Social Network จะแสดงผลผิดเพี้ยนบ้าง หรือตัดไปก่อนจะจบ Hyperlink ทำให้เวลากดแล้วไม่ไป ซึ่งการใช้ Link จะทำให้ Format ค่อนข้างง่ายมีการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ, ตัวเลขเป็นหลัก จึงไม่ต้องห่วงว่าโปรแกรมจะแสดงลิ้งค์นั้นผิดเพี้ยน
อีกหนึ่งช่องทางสื่อโซเชียลที่เหมาะกับ Hyperlink ที่ผ่านการย่อมากๆ คือ Twitter ที่ถูกจำกัดตัวอักษรมากกว่าช่องทางอื่นๆ เพราหากลิ้งก์ยาวเกินไปอาจทำให้ Tweet ดูไม่ Clean และเหลือพื้นที่สำหรับพิมพ์ข้อความน้อย

กลับสู่เมนูย่อย

 

 

10.Anchor
Anchor เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในเว็บไซต์โดยเฉพาะเมื่อหน้าเว็บมีข้อความจำนวนมากในหน้าเดียว ลิงค์เหล่านี้ซึ่งบางครั้งอาจเรียกว่าลิงค์ภายในหรือการข้ามหน้าช่วยให้ผู้ใช้สามารถคลิกที่ข้อความที่เน้นสีและข้ามไปยังส่วนอื่นของหน้า พวกเขาสามารถสร้างขึ้นได้อย่างง่ายดายด้วยการเขียนโค้ดแบบง่าย ๆ และช่วยปรับปรุงการนำทางบนหน้าเว็บ
หลายครั้งที่ผู้คนมีเพจเดี่ยวขนาดใหญ่พวกเขาจะสร้างดัชนีหน้าหรือสารบัญ ดัชนีที่ด้านบนเป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบในการเพิ่มลิงค์ยึดเพื่อให้รายการแต่ละรายการกลายเป็นจุดกระโดดของตนเองไปยังส่วนอื่นของหน้า สิ่งนี้ช่วยให้ผู้คนที่ดูเว็บเพจคลิกที่ดัชนีหรือสารบัญและย้ายไปทันทีเพื่อเข้าถึงเนื้อหาที่พวกเขาต้องการแทนที่จะต้องสแกนผ่านหลาย ๆ ส่วน ลิงค์ Anchor เป็นผู้ใช้ทั่วไปและมักเป็นที่ต้องการของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความซับซ้อนและต้องการเข้าถึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด
มีหลายวิธีในการสร้างจุดยึดลิงก์และวิธีการที่โปรแกรมเมอร์แต่ละคนทำเช่นนั้นอาจขึ้นอยู่กับประเภทของตัวเลือกการเขียนโปรแกรมและโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์สร้างเว็บจริง โดยพื้นฐานแล้วคนที่ใช้ HTML แบบง่ายต้องจัดเตรียมพื้นที่บนหน้าเว็บที่เป็นจุดยึดหรือปลายทางของการกระโดด ส่วนที่สองของรหัสคือลิงค์จริงไปยังจุดยึด จำเป็นต้องใช้ทั้งสองส่วนและเกิดขึ้นกับส่วนต่าง ๆ ของหน้า
ตัวอย่างเช่นหากบุคคลมีส่วนของหน้าชื่อ "วิธีปรุงอาหาร" พวกเขาสามารถสร้างสิ่งนี้เป็นที่ยึดได้ จำไว้ว่านี่คือปลายทาง ในการส่งผู้คนไปยังปลายทาง "วิธีปรุงอาหาร" ผู้เขียนโปรแกรมจะนำชื่อของส่วนนี้มาล้อมรอบด้วยรหัสต่อไปนี้ <a href="howtocook"> วิธีปรุงอาหาร </a> ชื่อของสมอไม่ใช่สิ่งที่สำคัญทั้งหมดมันอาจเป็นชื่อทำอาหารเท่ากันวิธีการคำแนะนำหรือสิ่งอื่นใด
ครั้งเดียวเมื่อชื่อไม่สำคัญคือเมื่อผู้คนต้องสร้างลิงก์ไปยังจุดยึด ชื่อของลิงก์ในใบเสนอราคาจะต้องตรงกับชื่อของสมอ รหัสลิงก์สำหรับการข้ามหน้ามีลักษณะดังนี้: <a href="#howtocook"> วิธีปรุงอาหาร </a> และควรล้อมรอบส่วนของข้อความในดัชนีหรือสารบัญที่ให้การกระโดด ไม่สามารถเครียดได้พอที่โปรแกรมเมอร์จะต้องตรงกับลิงค์และชื่อสมอโดยเฉพาะ ข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือเครื่องหมายหมายเลขนำหน้าชื่อลิงก์ในจุดกระโดดในขณะที่รหัสจุดยึด (ปลายทาง) ขาดเครื่องหมายตัวเลข ชื่อที่ล้อมรอบด้วย HTML ในระหว่าง <a> และ </a> ไม่จำเป็นต้องตรงกัน แต่อาจเป็นความคิดที่ดีที่จะให้ชื่อตรงกันเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน
เมื่อโปรแกรมเมอร์คุ้นเคยกับการสร้างลิงค์ยึดพวกเขาควรจำไว้ว่าให้รวมลิงค์กลับไปที่สารบัญหรือดัชนีด้านบน สิ่งนี้อาจมีความสำคัญในกรณีที่มีคนกระโดดข้ามส่วนที่ไม่ถูกต้องโดยไม่ตั้งใจหรือต้องการตรวจสอบเนื้อหาอื่น ๆ มันง่ายกว่าที่จะกระโดดกลับไปที่ด้านบนจากนั้นจะต้องเลื่อนขึ้น

กลับสู่เมนูย่อย

ย้อนกลับ