อุดรธานี
บ้านเกิด

อาศัยอยู่
ชลบุรี

สถานที่ทำงาน
โรงพยาบาลเกาะจันทร์

รูป
ภาพ

image 1
image 2
image 3
image 4

เที่ยวบ้านเกิด อุดรธานี

อุดรธานี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

จังหวัดอุดรธานีเป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 และศูนย์กลางพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง เดิมพื้นที่เมืองอุดรธานีในปัจจุบันคือบ้านเดื่อหมากแข้ง ซึ่งมีมานานร่วมสมัยกับเมืองเวียงจันทน์ อาณาจักรล้านช้าง เมืองอุดรธานีได้รับการสถาปนาให้เป็นเมืองศูนย์บัญชาการการปกครองของมณฑลอุดรอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 5 ปี พ.ศ. 2436 โดยพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ซึ่งทรงเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการแทนพระองค์ปกครอง มณฑลอุดร ในสมัยที่มีการปกครองในรูปแบบมณฑลเทศาภิบาล กรุงรัตนโกสินทร์ เมืองอุดรธานีเกิดจากรวมกันของหัวเมืองฝ่ายเหนือในพื้นที่มณฑลอุดร คือ เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหาน เมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน(เมืองหนองบัวลำภู) และบ้านเดื่อหมากแข้ง มีอาณาเขตปกครองกว้างใหญ่ที่สุดในประเทศ จังหวัดอุดรธานีอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 564 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 7,331,438.75 ไร่)

Play

ตาราง
เรียน

กลุ่ม: 6202340503
สาขาวิชา: การจัดการ

image 1

สิ่ง
ที่สนใจ

  • 1. Domain Name

    30 กรกฎาคม 2564

    คือ ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม (Domain Name System) เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้ง เราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" หรือ "Web Address" แทนก็ได้ โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยาก และเมื่อเจ้าของเว็บไซต์มีการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป การใช้งานโดเมน โดยทั่วไป เช่น google.com, enjoyday.netNam

  • 2. Hosting

    30 กรกฎาคม 2564

    เว็บโฮสติ้ง โฮสติ้ง หรือ โฮสต์ เป็นรูปแบบของการให้บริการที่ให้ผู้ใช้งานนำเว็บไซต์หรือโฮมเพจของตนเองออนไลน์บนโลกอินเตอร์เน็ต เพื่อให้เว็บไซต์ปรากฏต่อสายตาคนทั้งโลกง่ายๆ เพียงแค่พิมพ์ชื่อเว็บไซต์(Domain Name) ในเว็บบราวเซอร์ทุกเว็บไซต์ที่ออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตจะต้องฝากไฟล์เว็บ ฐานข้อมูล และไฟล์อื่นๆ ไว้กับเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการโฮสติ้งที่ดีควรใช้เว็บเซิร์ฟเวอร์ประสิทธิ์ภาพสูงและเชื่อมต่อกับ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อให้เว็บไซต์สามารถเข้าถึงได้รวดเร็วจากทุกมุมโลก นอกจากความเร็วในการเข้าถึงเว็บไซต์แล้วเสถียรภาพของเซิร์ฟเวอร์และครือข่ายข้อมูล รวมทั้ง ระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันและที่สำคัญที่สุดผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่ดีจะต้องมีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคต่างๆ ในการดูแลระบบ สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้รวดเร็วและติดต่อได้สะดวก

  • 3. Website

    30 กรกฎาคม 2564

    เว็บไซต์ (อังกฤษ: website, web site หรือ site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่าง ๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่าง ๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของเว็บเบราว์เซอร์

  • 4. Home Page

    30 กรกฎาคม 2564

    โฮมเพจ คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆอีกด้วย

  • 5. Web Page

    30 กรกฎาคม 2564

    เว็บเพจ (อังกฤษ: web page, webpage) หรือแปลเป็นไทยว่า หน้าเว็บ คือเอกสารเว็บชนิดหนึ่งเหมาะสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บและเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์จะแสดงเว็บเพจบนจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ เว็บเพจก็คือสิ่งที่ปรากฏออกมา แต่ศัพท์นี้ก็ยังหมายถึงแฟ้มคอมพิวเตอร์ที่มักจะเขียนเป็นเอชทีเอ็มแอลหรือภาษามาร์กอัปที่เทียบเคียงได้ ซึ่งมีลักษณะเด่นอันเป็นหลักก็คือ การจัดเตรียมข้อความหลายมิติที่จะนำไปสู่ เว็บเพจอื่น ผ่านทางลิงก์ เว็บเบราว์เซอร์จะประสานงานกับทรัพยากรเว็บที่อยู่โดยรอบเว็บเพจที่เขียน อาทิสไตล์ชีต สคริปต์ และรูปภาพ เพื่อนำเสนอเว็บเพจนั้น

  • 6. Web browser

    30 กรกฎาคม 2564

    เว็บเบราว์เซอร์ (อังกฤษ: web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ

  • 7. Header

    30 กรกฎาคม 2564

    ส่วน Head คือส่วนที่จะเป็นหัว (Header) ของหน้าเอกสารทั่วไป หรือส่วนชื่อเรื่อง (Title) ของหน้าต่างการทำงานในระบบ Windows Head Section เป็นส่วนที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับข้อมูลเฉพาะของหน้าเว็บนั้น ๆ เช่น ชื่อเรื่องของหน้าเว็บ (Title), ชื่อผู้จัดทำเว็บ(Author), คีย์เวิร์ดสำหรับการค้นหา (Keyword) โดยมี Tag สำคัญ

  • 8. Footer

    30 กรกฎาคม 2564

    คือส่วนแสดงผลที่อยู่ด้านล่างสุดของเว็บไซต์ ที่จะแสดงผลในทุกๆ หน้าของเว็บไซต์ เจ้าของเว็บไซต์สามารถเลือกรูปแบบ และจัดการกล่องการแสดงผลต่างๆ ลงในส่วน Footer นี้ได้ ซึ่งแต่ละกล่องการแสดงผลจะมีการจัดการและการแสดงผลที่แตกต่างกันไป

  • 9. Menu Bar

    30 กรกฎาคม 2564

    คือ ส่วนแถบเมนูของเว็บไซต์ เพื่อลิ้งค์ไปยังหน้าเพจต่างๆ เพื่อความสะดวกของเว็ปไซต์ ทุกเว็ปไซต็จะมีโดยอาจจะอยู่ด้านซ้ายของเว็บ หรือ ด้านบนของเว็บ                                                        

  • 10. Search engine

    30 กรกฎาคม 2564

    หมายถึง โปรแกรมค้นหา ที่ถูกออกแบบมาเป็นเครื่องมือใช้งานในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ โดยโปรแกรมส่วนมากที่ใช้สำหรับการค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ Search engines จะมีวิธีการค้นหาโดยการกรอกข้อมูลหรือคำที่ต้องการสืบค้นลงไป แล้วเว็บไซต์จะทำการประมวลผลลัพธ์ต่างๆ ออกมาให้ผู้สืบค้นข้อมูลทราบ ซึ่งคำค้นหาที่ใช้จะเรียกว่าเป็น Keyword (คีย์เวิร์ด) ของการสืบค้นข้อมูล ในปัจจุบันเทคโนโลยีของ Search Engine ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพให้สูงมากยิ่งขึ้น โดยหลังจากที่ทำการค้นหาเรียบร้อยแล้ว ระบบจะสามารถทำการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ และบันทึกประวัติการค้นหาไว้สำหรับการกรองผลลัพธ์การค้นหาครั้งต่อไป เพื่อช่วยให้ผู้สืบค้นข้อมูล สามารถทำการค้นหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องแม่นยำ

  • Youtube

    1. Youtube

    30 กรกฎาคม 2564

    (ยูทิวบ์) หรือที่นิยมเรียก “ยูทูป” ยูทูปเป็นเว็บไซต์คลังคลิปวิดีโอที่มีจำนวนมากกว่าล้านคลิปจากผู้ใช้งานที่อัปโหลดทั่วโลก ภายใต้การให้บริการฟรีและมีหลากหลายหมวดหมวดให้เลือกชม เช่น สารคดี กีฬา ภาพยนต์ การ์ตูน รายการทีวี/วีดีโอเพลง เป็นต้น จึงเป็นที่นิยมของคนทุกเพศ ทุกวัย และนอกจาก Youtube ยังสนับสนุนให้ผู้ใช้งานสามารถเป็น Creator นักสร้างสรรค์วิดีโอบน Youtube หรือที่นิยมเรียกกันว่า “ยูทูปเบอร์ (Youtuber)” เพื่อสร้างช่อง (Channel) อัปโหลดวิดีโอให้ผู้คนได้เข้าชมติดตาม และสร้างรายได้ให้กับผู้สร้างคลิปวีดีโออีกด้วย

  • Facebook

    2. Facebook

    30 กรกฎาคม 2564

    Facebook คือ โซเชียล มีเดียที่ให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและร่วมทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง หรือหลายๆ กิจกรรมกับผู้ใช้ Facebook คนอื่นๆได้ เช่น การถาม-ตอบในเรื่องที่สนใจ โพสต์รูปภาพ โพสต์คลิปวิดีโอ เขียนบทความหรือบล็อก ไลฟ์วีดีโอแบบสดๆ ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นเครือข่ายหรือสังคมขนาดใหญ่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมไปถึงในเชิงธุรกิจด้วย

  • instagram

    3. instagram

    30 กรกฎาคม 2564

    อินสตาแกรม เป็นโปรแกรมที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสังคมของคนในโลกออนไลน์ที่ทำให้สามารถรู้จักตัวตนของกันและกันผ่านรูปภาพและข้อความสั้นๆ สามารถเรียนรู้กันได้มากขึ้นจากการกดติดตาม (fallow)