World Wide Web
World Wide Web หรือที่เรามักเรียกสั้นๆว่า Web หรือ W3 (WWW) คือ คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษที่ทำให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาที่เก็บไว้ภายในของแต่ละเครื่องได้ (กลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่) โดยผ่านทาง บราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ใน World Wide Web โดยเฉพาะ บราวเซอร์ที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer ของ และ Firefox
การนำเสนอข้อมูลในระบบ WWW (World Wide Web) พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี 1989 โดยทีมงานจาก ห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Particle Physics Labs) หรือที่รู้จักกัน ในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้มี การพัฒนา ภาษาที่ใช้สนับสนุน การเผยแพร่เอกสารของนักวิจัย หรือเอกสารเว็บ (Web Document) จากเครื่องแม่ข่าย (Server) ไปยังสถานที่ต่างๆ ในระบบ WWW เรียกว่า ภาษา HTML (HyperText Markup Language)การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ (WebPage) เป็นที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบัน ไม่เฉพาะข้อมูลโฆษณาสินค้า ยังรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ การเรียน งานวิจัยต่างๆ เพราะเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลที่นำเสนอออกไป สามารถเผยแพร่ ได้ทั้งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหว มีลูกเล่นและเทคนิคการนำเสนอ ที่หลากหลาย อันส่งผลให้ระบบ WWW เติบโตเป็นหนึ่ง ในรูปแบบบริการ
ลักษณะเด่นของการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจ คือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ ในระบบเครือข่าย อันเป็นที่มาของคำว่า HyperText หรือข้อความที่มีความสามารถ มากกว่าข้อความปกตินั่นเอง จึงมีลักษณะคล้ายกับว่าผู้อ่านเอกสารเว็บ สามารถโต้ตอบกับเอกสารนั้นๆ ด้วยตนเอง ตลอดเวลาที่มีการใช้งานนั่นเองด้วยความสามารถดังกล่าวข้างต้น
ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/Patompong/2008/11/16/entry-2

 

 

Website
เว็บไซต์ (Website) หมายถึง หน้าเว็บเพจที่จัดทำขึ้น เพื่อนำเสนอข้อมูลต่างๆ ผ่านทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตโดยจะมีหน้าเว็บเพจหลายๆ หน้าที่เชื่อมโยงเข้ากับไฮเปอร์ลิ้งค์ เพื่อให้สามารถเปิดไปยังหน้าเพจต่างๆ ได้อย่างง่ายดายและถูกจัดเก็บไว้ใน www. (เวิลด์ไวด์เว็บ) โดยเว็บไซต์ส่วนใหญ่นั้นก็มีทั้งเว็บไซต์ที่เปิดให้เข้าชมได้ฟรี และเว็บไซต์ที่ต้องสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการ จึงจะเข้าใช้งานเว็บได้ ซึ่งข้อมูลในเว็บก็จะมีหลากหลายแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการนำเสนอของเจ้าของเว็บไซต์ การเรียกดูเว็บไซต์จะเรียกดูผ่านทางซอฟต์แวร์ ในลักษณะของเบราว์เซอร์

ที่มา https://www.1belief.com/article/website/
12 สิงหาคม 2560

 

 

Web browser
เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการท่องเว็บ และมีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษา HTML ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ นอกจากนี้ยังสามารถดูเอกสารในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ ไม่ว่าเว็บเหล่านั้นจะแสดงข้อมูลในลักษณะของภาพ ระบบมัลติมีเดีย รูปภาพหรือข้อความ ในปัจจุบันเว็บเบราว์เซอร์ที่รองรับระบบ HTML 5 สามารถอ่าน CSS 3 ได้อย่างสวยงาม และกำลังได้รับความนิยมมากที่สุด ก็มี 4 ประเภทดังนี้
•           Internet Explorer
•           Mozilla Firefox
•           Google Chrome
•           Safari
ที่มา https://www.1belief.com/article/website/
12 สิงหาคม 2560

 


Web Hosting
เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) คือ รูปแบบการให้บริการสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้งานนั้นมีความต้องที่จะฝากเว็บไซต์ของตนเองไว้กับผู้ให้บริการเซิฟเวอร์ (HSP: Hosting Service Provider) เพื่อให้เว็บไซต์ของตนเองนั้น ออนไลน์อยู่่บนโลกอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชม. โดยที่ทางผู้ให้บริการจะจัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์ ฐานข้อมูล อีเมล ฯลฯ ไว้ในเครื่องเซิฟเวอร์ หรือที่เรียกกันว่าเว็บเซิฟเวอร์ (Web Server) ซึ่งเว็บเซิฟเวอร์จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางที่จะแสดงผลหน้าเว็บไซต์ให้กับผู้ท่องอินเทอร์เน็ตทั่วไปได้เช้าชมผ่านโดเมนเนม(เช่น www.pathosting.co.th) ได้ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ที่ต้องการออนไลน์เว็บไซต์ของตนเองจึงต้องคำนึงถึงเว็บเซิฟเวอร์ก่อน แต่ด้วยความที่เว็บเซิฟเวอร์นั้นมีราคาค่อนข้างสูง บวกกับจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยดูแลเซิฟเวอร์ในด้านเทคนิคต่างๆ อีก ทำให้เจ้าของเว็บไซต์ส่วนใหญ่จึงหันมาใช้บริการ Web Hosting เนื่องจากค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามาก

 ที่มา https://www.pathosting.co.th/hosting/whatis

 

 

 URL
URLย่อมาจาก Uniform Resource Locator   URLคือ Internet address หรือที่อยู่ในระบบอินเตอร์เน็ตของข้อมูล ไฟล์ หรือเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อให้ Web browser รู้ตำแหน่งหรือที่อยู่ที่ถูกต้องและสามารถเรียกข้อมูลหรือเว็บไซต์นั้นมาแสดงบนหน้าจอแสดงผลได้
รูปแบบของ URL
ตัวอย่างของรูปแบบของ URL เช่น http://www.comgeeks.net คือการเรียกหน้าเว็บไซต์ comgeeks.net ออกมา ส่วน http://www.comgeeks.net/vpn/ หมายถึงการเรียกหน้าข้อมูลเกี่ยวกับ VPN ของเว็บไซต์ comgeeks.net เป็นต้น


องค์ประกอบของ URL
- http = Hypertext Transfer Protocol = โปรโตคอลสำหรับการเรียกใช้งานเว็บไซต์
- www = เรียกเปิดหน้าเว็บผ่านเครือข่าย World Wide Web
- comgeeks.net คือชื่อโดเมน ที่เก็บข้อมูลที่ต้องการ
- /vpn/ คือหน้าแฟ้มข้อมูล หรือหน้า webpage ที่เราต้องการเรียกดูข้อมูล
แฟ้มข้อมูลที่เราสามารถเรียกดูผ่าน URL นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท เช่น
- Webpage เช่น .html, .htm, .aspx, และ .php)
- แฟ้มข้อมูล เช่น .doc, .xls, .ppt, .pdf และ .txt
- ไฟล์รูปภาพ (.png, .jpg, .gif, และ .bmp)
- ไฟล์วิดีโอ
- Zip files (download เท่านั้น)
URL นั้นเปรียบเสมือนที่อยู่ หรือ บ้านเลขที่ของข้อมูลต่างๆที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดังนั้นการระบุ URL ควรระบุให้ถูกต้องครบถ้วน มิฉะนั้นผู้ได้รับ URL นั้นจะไม่สามารถไปถึงข้อมูลปลายทางที่เราอ้างถึงได้
ที่มา http://www.comgeeks.net/url/

 


FTP
FTP เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับ upload/download หรือดูโครงสร้างของไฟล์และ directory ใน Server FTP (File Transfer Protocol) เป็นมาตรฐานในการถ่ายโอนไฟล์ และเป็นส่วนหนึ่งของชุดโปรโตคอล TCP/IP มีประโยชน์มากสำหรับการรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่อง ลูก (FTP Client) กับเครื่องที่เป็นเครื่องให้บริการ (FTP Server) โดยเครื่องFTP Client อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานกันทั่วไป ส่วนเครื่อง FTP Server ก็อาจจะเป็นเครื่อง PC ธรรมดาจนถึงเครื่องที่มีสมรรถภาพสูง
FTP (File Transfer Protocol) เป็นระบบโอนย้ายไฟล์ข้ามระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความปลอดภัยพอสมควร โดยใช้โปรโตคอล TCP เป็นกลไกขนส่งข้อมูล การเข้าใช้งานผู้ใช้จะต้องแนะนำตนเองต่อเซิร์ฟเวอร์ด้วยชื่อผู้ใช้และรหัส ผ่าน จากนั้นจะแสดงชื่อโฟล์เดอร์และชื่อไฟล์ที่มีอยู่ออกมา ความสามารถของ FTP ทำให้ไคลเอนต์โอนย้ายไฟล์ ระหว่างไคลเอนต์ และ FTP Server ได้ รวมทั้งระหว่างเครื่องสองเครื่องที่อยู่ห่างไกลกัน
FTP เป็นโปรโตคอลที่ยุ่งยากพอสมควร เพราะต้องสร้างช่องทางสื่อสารในระดับ TCP ถึงสองช่องทาง โดยช่องหนึ่งสำหรับโอนถ่ายข้อมูลและอีกหนึ่งใช้ส่งคำสั่ง เซิร์ฟเวอร์จะต้องมีตัวแปลโปรโตคอล (PI: Protocol Interpreter) สำหรับทำหน้าที่แปลและดำเนินงานตามคำสั่งของ FTP นอกจากนี้ยังต้องมีโมดูล โดนย้ายข้อมูลที่เรียกว่า DT (Data Transfer ) มารับผิดชอบจัดการกับข้อมูล ทั้ง PI ได้ โดยเรียกใช้ Telnet หรือไม่ก็จัดการโปรโตคอล Telnet หรือไม่ก็จัดการโปรโตคอล Telnet ใหม่ทั้งหมดเอง คำสั่งของ FTP
FTP (File Transfer Protocal) คือ มาตรฐานที่กำหนดใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลหรือการ Upload / Download ข้อมูลบน Internet ครับ โดยเราจะใช้โปรแกรมที่เรียกว่า FTP Client มาช่วยในการ Upload / Download ข้อมูลไปเก็บไว้ที่ Server เช่น โปรแกรม CuteFTP, WS_FTP
FTP (File Transfer Protocol) คือการถ่ายโอนไฟล์ หรือเรียกได้อีกอย่างว่า การคัดลอกแฟ้มข้อมูลบนเครือข่าย คือ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งมายังอีกระบบหนึ่งผ่าน เครือข่าย ซึ่งทำได้หลายรูปแบบ เช่น การโอนจากแม่ข่ายมายังเครื่องพีซี หรือเครื่องพีซีไปแม่ข่ายหรือระหว่างแม่ข่ายด้วยกันเอง การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลอาศัยโปรแกรมหนึ่งที่มีการใช้ งานกันมากและมีบริการอยู่ในโฮสต์แทบทุกเครื่อง คือ โปรแกรม FTP


ที่มา  http://th.easyhostdomain.com/dedicated-servers/ftp.html

 


DNS server
DNS server ย่อมาจาก Domain Name System server คือเครื่องบริการแปลงชื่อเว็บเป็นหมายเลข IP ซึ่งการแปลงชื่อนี้อาจเกิดในเครื่อง local เอง จาก ในเครื่อง local หรือจากเครื่องบริการของผู้ให้บริการเพราะ เบอร์  เป็นตัวเลขที่ใช้ไม่ค่อยสะดวกและจำยาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดระบบตั้งชื่อแบบที่เป็นตัวอักษรให้มีความหมายเพื่อการจดจำได้ง่ายขึ้น    จึงเป็นที่มาของ  DNS server
DNS ทำหน้าที่คล้ายสมุดโทรศัพท์คือ เมื่อมีคนต้องการจะโทรศัพท์หาใคร คนนั้นก็จะเปิดสมุดโทรศัพท์ดู เพื่อค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ของคนที่ต้องการติดต่อ คอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน เมื่อต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เครื่องนั้นก็จะทำการสอบถามหมายเลข IP ของเครื่องที่ต้องการสื่อสารด้วยกับ DNS server ซึ่งจะทำการค้นหาหมายเลขดังกล่าวในฐานข้อมูลแล้วแจ้งให้โฮสต์ดังกล่าว ทราบ ระบบ DNS แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.Name Resolvers : ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าจุดประสงค์หลักของ DNS คือการแปลงชื่อคอมพิวเตอร์ ให้เป็นหมายเลข IP ในเทอมของ DNS แล้วเครื่องไคลเอนท์ที่ต้องการสอบถามหมายเลข IP จะเรียกว่า "รีโซล์ฟเวอร์ (resolver)" วอฟแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นรีโซล์ฟเวอร์นั้นจะถูกสร้างมากับแอพพลิเคชันหรืออาจจะเป็นไลบรารีที่มีอยู่ในเครื่องไคลเอนท์
2.Domain Name Space : ฐานข้อมูลระบบ DNS มีโครงสร้างเป็นต้นไม้ ซึ่งจะเรียกว่า "โดเมนเนมสเปซ (Domain Name Space)" แต่ละโดเมนจะมีชื่อและสามารถมีโดเมนย่อยหรือซับโดเมน (Subdomain) การเรียกชื่อจะใช้จุด ( .) เป็นตัวแบ่งแยกระหว่างโดเมนหลักและโดเมนย่อย
3.Name Servers : เนมเซิร์ฟเวอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รันโปรแกรมที่จัดการฐานข้อมูลบางส่วนของระบบ DNS เนมเซิร์ฟเวอร์จะตอบกลับการร้องขอทันทีโดยการค้นหาข้อมูลในฐานของมูลตัวเอง หรือจะส่งต่อการร้องขอ ไปยังเนมเซิร์ฟเวอร์อื่น ถ้าเนมเซิร์ฟเวอร์มีเร็คคอร์ดของส่วนของโดเมน แสดงว่า เนมเซิร์ฟเวอร์นั้นเป็นเจ้าของโดเมนนั้น (Authoritative) ถ้าไม่มีก็จะเรียกว่า Non-Authoritative
ข้อจำกัดของระบบ DNS รับรู้เฉพาะตัวอักษรละติน (ASCII character set) ใน RFC 1035 ระบุว่าสัญลักษณ์ที่ใช้ได้ในโดเมนเนม คือ
1.ตัวอักษร a ถึง z (case insensitive)
2.เลข 0 ? 9
3.เครื่องหมายยติภังค์ (-)
ปัจจุบัน ประเทศมีการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีชื่อโดเมนภาษาไทยในปี 2542 โดยกลุ่มผู้ประดิษฐ์คิดค้นชาวไทย ที่เอื้ออำนวยให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเรียกดูเว็บไซต์ผ่านทางชื่อโดเมนภาษาไทยเต็มรูปแบบ และเปิดโอกาสให้เจ้าของเว็บไซต์ที่ประสบปัญหากับการมีชื่อโดเมนภาษาอังกฤษที่จดจำยาก หรือใช้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างลำบาก สามารถจดทะเบียนชื่อโดเมนภาษาไทยให้กับเว็บไซต์ของตัวเอง โดยใช้ตัวแปลงรหัสภาษาท้องถิ่นเพื่อทำงานร่วมกับระบบ DNS
ที่มา http://www.mindphp.com

 


Home Page


โฮมเพจ (Home Page) ก็คือหน้าแรกของเว็บไซต์เมื่อเปิดเข้าไปยังเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่ง โดยหน้าแรกนี้จะรวมเมนูและเรื่องราวต่างๆ ไว้มากมาย ซึ่งก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากหน้าแรกมีการออกแบบได้อย่างสวยงามและจัดหน้าอย่างเป็นระเบียบก็จะทำให้ผู้ชมเกิดความสนใจและอยากเข้าชมเว็บมากขึ้น
ที่มา  https://www.1belief.com/article/website/
12 สิงหาคม 2560

 


Hyperlink
Hyperlink หรือ เราจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Link เป็นส่วนหนึ่งของ  และเชื่อมโยงกับ  โดยมีลักษณะเป็นคำ, ข้อความ และรูปภาพ แทนข้อความเดิมๆที่อยู่บนเว็บเพจ จะมีความโดนเด่นกว่าตัวอื่นๆ สามารถใส่เป็นข้อความสีหรือลูกเล่นต่างๆเพื่อให้เกิดความสำคัญของข้อความนั้นและสามารถคลิกเข้าไปเพื่อเกิดการเชื่อมต่อโดยส่งให้ผู้ใช้เปิดหน้าเว็บเพจที่ต้องการหรื ต้องการเปิดเอกสารต่อไป แทนการพิมพ์ในแถบ web browser โดยตรง
ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/

 

 

Anchor


การทำลิงค์แบบ Named Anchor

 

 


 

 

 

 

 

Named Anchor คือ จุดอ้างอิง ซึ่งเราจะนำมาใช้ในการทำลิงค์ในหน้าเว็บเดียวกัน หรือลิงค์ไปหน้าอื่น ๆ โดยสามารถระบุจุดอ้างอิงค์ที่จะลิงค์ไปในแต่ละส่วนของเพจ ซึ่งมีวิธีการทำง่าย ๆ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 เปิดโปรแกรม Dreamweaver ขึ้นมา และได้สร้างชิ้นงานใหม่ เมื่อเรามีข้อมูลในหน้านั้น ๆ แล้ว แต่ต้องการลิงค์แบบใช้ Named Anchor ในที่นี้ขอสมมุติว่าในเพจของเรามีข้อมูลอยู่เยอะเกิน 1 Screen หน้าจอ (ในที่นี้ขอสมมุติข้อมูลจำนวน 10 บรรทัด แทนจำนวนข้อมูลของเพจ) แ้ล้วเราต้องการทำปุ่มลิงค์ Go to Top ที่บริเวณล่างสุดของเพจ เพื่ออำนวยประโยชน์ให้คนเข้าเว็บได้ใช้ส่วนนี้เพื่อลิงค์กลับขึ้นมาด้านบน ของเพจ (ไม่ต้องเสียเวลาเลื่อน Scrollbar)

ดังนั้นเราจะต้องมีการสร้างจุดอ้างอิงค์เสียก่อน ในที่นี้จุดอ้างอิงของเราก็คือส่วนบนสุดของเพจ (เพราะเราจะให้ลิงค์แล้วแสดงส่วนบนของเพจ) ให้เราสร้าง Named Anchor ที่บริเวณนี้ โดยวาง Cursor ที่จุดบริเวณด้านบนสุดของเพจ จากนั้นใช้คำสั่ง Insert ---> Named Anchor ซึ่งจะมีหน้าต่างดังภาพในตำแหน่งที่ 1 ปรากฏขึ้น เพื่อให้เราสร้างชื่อจุดอ้างอิงของ Named Anchor ที่เราจะสร้าง ซึ่งควรตั้งชื่อให้เหมาะสมตามจุดประสงค์ของการใช้งาน ในที่นี้ขอตั้งชื่อว่า "top" (เพราะเป็นจุดอ้างอิงค์ด้านบน) ซึ่งจะได้สัญลักษณ์ Named Anchor ตามภาพที่ 2

 

 

 

 

 

ขั้นตอนที่ 2  วิธีการลิงค์ Named Anchor
2.1 สำหรับการลิงค์ในหน้าเดียวกัน เช่น การสร้างปุ่ม Go to Top ให้เราสร้างข้อความหรือรูปที่จะทำปุ่มลิงค์ที่ด้านล่างสุดของเพจ จากนั้นลิงค์ไปหา Named Anchor ที่เราได้สร้างไว้ในขั้นตอนที่ 1 
วิธีการใส่ลิงค์ภายในหน้าเดียวกัน คือใส่ #ตามด้วยชื่อ Named Anchor ตามตัวอย่างนี้ก็จะสามารถระบุลิงค์เป็น #top ตามภาพตำแหน่งที่ 2
2.2 สำหรับการลิงค์ข้ามเพจ เช่น ในหน้านี้เราทำลิงค์เรื่องการสอน Dreamweaver ไว้ เพื่อลิงค์ไปหน้้าชื่อ dreamweaver.html ซึ่งในหน้านั้นจะมีข้อมูลหัวข้อต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับการสอน Dreamweaver รวมทั้งมีหัวข้อเกี่ยวกับสี ซึ่งเราจะลิงค์ไปหน้า Dreamweaver ในเรื่องของสี เราก็สามารถสร้าง Named Anchor ชื่อ color ไว้ในหน้า Dreamweaver ในบริเวณหน้าที่เป็นเนื้อหาหัวข้อเรื่องสี จากนั้นเราก็มาทำลิงค์ในหน้าที่เราต้องการ ตามตัวอย่างในภาพตำแหน่งที่ 3

 

 

ที่มา http://www.thainextstep.com
23 พ.ค. 2552

 

 

gg