คำศัพท์

                                                                                                                         

         Web browser

           CMS

        Web hosting

            DNS

       Client/Server

             homepage

            URL

               Anchor

            FTP

            HTML

Web browser

เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) คือโปรแกรมที่สามารถแปลงภาษาคอมพิวเตอร์ Html ให้กลายเป็นเว็บเพจที่มนุษย์สามารถอ่านและเข้าใจได้ โดยเว็บบราวเซอร์จะทำการแปลงชุดคำสั่ง html ออกมาปรากฏหน้าเว็บเพจนั้น ๆ การเรียกใช้งานของเว็บบราวเซอร์นั้นจะรับ โดเมนเนม (Domain name) จากผู้ใช้งาน และแปรงโดเนมเนมนั้นให้กลายเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) ซึ่งไอพีนี้จะมีลักษณะเป็นตัวเลขและจำได้ยาก ด้วยเหตุนี้จึงต้องใช้งานเว็บบราวเซอร์ในการแปลงจากโดเมนเนมให้กลายเป็น IP ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น
หลังจากที่เว็บราวเซอร์ได้ IP Address เรียบร้อยแล้วก็จะติดต่อกับ Server เพื่อทำการดึงข้อมูลเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานทำการร้องมาพร้อมกันนั้นก็แปลงจากภาษา html เป็นหน้าเว็บเพจตามองค์ประกอบของคำสั่ง html นั้นเอง

Web hosting

เว็บโฮสติ้ง คือ พื้นที่การใช้งานในอินเทอร์เน็ต โดยการเช่าพื้นที่ ฮาร์ดดิสก์ในเครื่อง Server ของผู้ให้บริการ โดยเครื่อง Server นี้จะเชื่อมต่อ Internet ความเร็วสูง และ online 24 ชม.
สำหรับเว็บไซต์ทั่วไป โฮสติงมีลักษณะที่เปรียบเทียบได้เหมือนกับ ฮาร์ดดิสก์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ฉะนั้นถ้าคุณมีพื้นที่การใช้งานโฮสติ้งที่มาก คุณก็จะสามารถเก็บ ไฟล์, รูปภาพ, เอกสาร และอื่นๆ ได้มากตามไปด้วยเช่นกัน บางครั้งเราอาจเรียกได้หลายแบบเช่น โฮสติง โฮสติ้ง เว็บโฮสติง โฮส แต่ทั้งหมดก็มีความหมายเหมือนกัน เว็บโฮสติ้ง มี 2 แบบ คือ Windows Hosting และ Linux Hosting โดยแยกตามระบบปฏิบัติการ (OS) ที่ตัวเว็บโฮสติ้งใช้งาน ซึ่งมีอยู่ 2 ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานคือ Microsoft Windows Server และ Linux
ความแตกต่างระหว่างระบบปฏิบัติการ 2 ระบบนี้ คือ ตัว Windows Hosting สามารถใช้งานได้กับเว็บไซต์ที่เขียนโดยภาษา ASP ,ASP.net และ PHP ได้ ในขณะที่ตัว Linux Hosting สามารถใช้งานกับเว็บไซต์ที่เขียนโดยภาษา PHP ได้เท่านั้น
แต่หากเว็บไซต์ของคุณเขียนโดยใช้ HTML ก็สามารถเลือกใช้เว็บโฮสติ้งได้ทั้ง 2 แบบ โดยที่การแสดงผลของทั้ง 2 ระบบไม่ต่างกัน แต่แนะนำให้ใช้เป็น Linux Hosting เพราะจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

 

Client/Server

Client คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไปร้องขอบริการและรับบริการอย่างใดอย่างหนึ่งจาก Server
server คือเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โดยอาศัยโปรแกรม Web serverแก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่าย ในระบบเครือข่าย
server แบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
2.ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
3.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
client/server คือ การที่มีเครื่องผู้ให้บริการ (server) และเครื่องผู้ใช้บริการ (client) เชื่อมต่อกันอยู่ และเครื่องผู้ใช้บริการได้มีการติดต่อร้องขอบริการจากเครื่องผู้ให้บริการ เครื่องผู้ให้บริการก็จะจัดการตามที่เครื่องผู้ขอใช้บริการร้องขอ แล้วส่งข้อมูลกลับไปให้
เครือข่ายแบบ Client / server เหมาะกับระบบเครือข่ายที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก โดยการรองรับจำนวนเครื่องลูกข่าย (Client )อาจเป็นหลักสิบ หลักร้อย หรือหลักพัน เพราะฉะนั้นเครื่องที่จะนำมาทำหน้าที่ให้บริการจะต้องเป็นเครื่องที่มี ประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถูกต้องออกแบบมาเพื่อทนทานต่อความผิดพลาด ( Fault Tolerance )และต้องคอยให้บริการทรัพยาการให้กับเครื่องลูกข่ายตลอดเวลา โดยเครื่องที่จะนำมาทำเป็นเซิร์ฟเวอร์อาจเป็นคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้

 

 

URL

URL ย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator คือ ที่อยู่ (Address) ของข้อมูลต่างๆในInternet เช่น ที่อยู่ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต
รูปแบบของ URL จะประกอบด้วย
http://www.mindphp.com/support/urlfaq.htm
1. ชื่อโปรโตคอลที่ใช้ (http ซึ่งย่อมาจาก HyperText Transfer Protocol)
2. ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และชื่อเครือข่ายย่อย (www.mindphp)
3. ประเภทของเว็บไซต์ (.com) ซึ่งมีอยู่ หลาย ประเภท คือเช่น .com (Commercial),.edu (Educational),.org (Organizations),.net (Network), .co.th (บริษัทในประเทศไทย ดูเพิ่มเติมที่นี่) ฯลฯ
4. ไดเร็กทอรี่ (/support/)
5. ชื่อไฟล์และนามสกุล (urlfaq.htm)
ความสำคัญของ URL คือเวลาเราเข้าเว็บไซต์เราก็ต้องพิมพ์ URL ลงในช่อง url address ของ web browser เช่น จะเข้าเว็บ google.comก็ต้องพิมพ์ http://www.google.com หรือ จะพิมพ์ google.com ก็ได้ไม่ต้องมี http://www.ก็ได้เดี๋ยว Browser มันจะเติมให้เราเอง ดังนั้นการอ้างอิงของข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตต้องระบุ URL ให้ถูกต้อง มิฉะนั้นจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้

FTP

FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือ โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้ FTP ที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Filezilla ,Cute FTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น FTP แบ่งเป็น 2 ส่วน
1. FTP server เป็นโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการ FTP หากมีการเชื่อมต่อจากไคลแอนเข้าไป
2. FTP client เป็นโปรแกรม FTP ที่ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ user ทั่วๆไป ทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยัง FTP server และทำการอัพโหลด ,ดาวน์โหลดไฟล์ หรือ จะสั่งแก้ไขชื่อไฟล์, ลบไฟล์ และเคลื่อนย้ายไฟล์ก็ได้เช่นกัน
ความสำคัญของ FTPโดยปกติเมื่อเราต้องการทำเว็บไซต์ไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องนึกถึงและขาดไม่ได้คือ Hosting หรือ Server ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก การที่เว็บไซต์ของเราสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีหยุดนั้น ก็เพราะ Hosting ไม่เคยปิดนั่นเอง ส่วนการสร้างเว็บไซต์เกิดจากการเขียน Code โปรแกรม ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษา HTML , PHP , ASP , ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องนำไฟล์ที่เราเขียนเสร็จเรียบร้อยไปใส่บน Hosting เพื่อสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน แต่ด้วยหนทางที่อยู่ไกลกันระหว่างเรากับ Hosting ที่เราขอใช้บริการไว้ เราจึงต้องใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ ในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา กับ Hosting ซึ่งเทคโนโลยีนั้นคือ FTP นั่นเอง
สำหรับบทความอื่นๆ เกี่ยวกับ FTP วิธีติดตั้ง FTP Server ทำ ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ ไว้ใช้งาน ด้วย vsftpd
SFTP คืออะไร เอสเอฟทีพี Secured File Transfer Protocol
ดาวน์โหลด โปรแกรม FTP Client ได้ที่

CMS

ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ (Content Management System: CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา (Development) และบริหาร (Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์ โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์ (Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP, Perl, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ(แล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนา) ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ (เช่น Apache) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์(เช่น MySQL) 
ลักษณะเด่นของ CMS ก็คือ มีส่วนของ Administration panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การ จัดการระบบผ่านเว็บ(Web interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า(Portal Systems) โดยตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซต์นั้นๆ ปัจจุบันซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้าง CMS มีหลายตัวด้วยกันอาทิเช่น PostNuke, PHP-Nuke, MyPHPNuke, Mambo, eNvolution, MD-Pro, XeOOPs, OpenCMS, Plone, JBoss, Drupal เป็นต้น

DNS

DNS server ย่อมาจาก Domain Name System server คือเครื่องบริการแปลงชื่อเว็บเป็นหมายเลข IP ซึ่งการแปลงชื่อนี้อาจเกิดในเครื่อง local เอง จาก Cache ในเครื่อง local หรือจากเครื่องบริการของผู้ให้บริการเพราะ เบอร์ IP Address เป็นตัวเลขที่ใช้ไม่ค่อยสะดวกและจำยาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดระบบตั้งชื่อแบบที่เป็นตัวอักษรให้มีความหมายเพื่อการจดจำได้ง่ายขึ้น จึงเป็นที่มาของ DNS server
DNS ทำหน้าที่คล้ายสมุดโทรศัพท์คือ เมื่อมีคนต้องการจะโทรศัพท์หาใคร คนนั้นก็จะเปิดสมุดโทรศัพท์ดู เพื่อค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ของคนที่ต้องการติดต่อ คอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน เมื่อต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เครื่องนั้นก็จะทำการสอบถามหมายเลข IP ของเครื่องที่ต้องการสื่อสารด้วยกับ DNS server ซึ่งจะทำการค้นหาหมายเลขดังกล่าวในฐานข้อมูลแล้วแจ้งให้โฮสต์ดังกล่าว ทราบ ระบบ DNS แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.Name Resolvers : ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าจุดประสงค์หลักของ DNS คือการแปลงชื่อคอมพิวเตอร์ ให้เป็นหมายเลข IP ในเทอมของ DNS แล้วเครื่องไคลเอนท์ที่ต้องการสอบถามหมายเลข IP จะเรียกว่า "รีโซล์ฟเวอร์ (resolver)" วอฟแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นรีโซล์ฟเวอร์นั้นจะถูกสร้างมากับแอพพลิเคชันหรืออาจจะเป็นไลบรารีที่มีอยู่ในเครื่องไคลเอนท์
2.Domain Name Space : ฐานข้อมูลระบบ DNS มีโครงสร้างเป็นต้นไม้ ซึ่งจะเรียกว่า "โดเมนเนมสเปซ (Domain Name Space)" แต่ละโดเมนจะมีชื่อและสามารถมีโดเมนย่อยหรือซับโดเมน (Subdomain) การเรียกชื่อจะใช้จุด ( .) เป็นตัวแบ่งแยกระหว่างโดเมนหลักและโดเมนย่อย

3.Name Servers : เนมเซิร์ฟเวอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รันโปรแกรมที่จัดการฐานข้อมูลบางส่วนของระบบ DNS เนมเซิร์ฟเวอร์จะตอบกลับการร้องขอทันทีโดยการค้นหาข้อมูลในฐานของมูลตัวเอง หรือจะส่งต่อการร้องขอ ไปยังเนมเซิร์ฟเวอร์อื่น ถ้าเนมเซิร์ฟเวอร์มีเร็คคอร์ดของส่วนของโดเมน แสดงว่า เนมเซิร์ฟเวอร์นั้นเป็นเจ้าของโดเมนนั้น (Authoritative) ถ้าไม่มีก็จะเรียกว่า Non-Authoritative

homepage

โฮมเพจ คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆอีกด้วย

Anchor

Anchor [adj.] ซึ่งยึดติด ซึ่งยึดติดอย่างมั่นคง
[vi.] ทอดสมอ
[n.] ที่ยึดเหนี่ยว เครื่องยึดเหนี่ยว 
[syn.] support,hold,fastener
[vt.] เป็นผู้ประกาศข่าว
[n.] ผู้ที่สามารถไว้ใจได้ ผู้ที่พึ่งพิงได้

HTML

HTML ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language คือภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแสดงผลของเอกสารบน website หรือที่เราเรียกกันว่าเว็บเพจ ถูกพัฒนาและกำหนดมาตรฐานโดยองค์กร World Wide Web Consortium (W3C) และจากการพัฒนาทางด้าน Software ของ Microsoft ทำให้ภาษา HTML เป็นอีกภาษาหนึ่งที่ใช้เขียนโปรแกรมได้ หรือที่เรียกว่า HTML Application 
HTML เป็นภาษาประเภท Markup สำหรับการการสร้างเว็บเพจ โดยใช้ภาษา HTML สามารถทำโดยใช้โปรแกรม Text Editor ต่างๆ เช่น Notepad, Editplus หรือจะอาศัยโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือช่วยสร้างเว็บเพจ เช่น Microsoft FrontPage, Dream Weaver ซึ่งอํานวยความสะดวกในการสร้างหน้า HTML ส่วนการเรียกใช้งานหรือทดสอบการทำงานของเอกสาร HTML จะใช้โปรแกรม web browser เช่น IE Microsoft Internet Explorer (IE), Mozilla Firefox, Safari, Opera, และ Netscape Navigator เป็นต้น