คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

Hosting คือ พื้นที่ส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ซึ่งผู้ให้บริการโฮสติ้ง (Hosting Service Provider) ได้ทำการจัดสรรมาให้เช่าบริการ โดยส่วนใหญ่จะให้บริการเป็น รายเดือน หรือ รายปี ซึ่ง Hosting เหล่านี้เป็นลักษณะของการใช้พื้นที่บนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ร่วมกัน

การเลือก Hosting ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานของคุณ เช่น

1. ปริมาณพื้นที่ ๆ ต้องการใช้ เช่น 10,000MB, 20,000MB, 40,000MB หรือ 60,000MB ซึ่งพื้นที่จะถูกแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ อีกเช่น Web Space, Mail Space และ DataBase Space
2. ปริมาณ Data Transfer เช่น 50GBต่อเดือน 100GBต่อเดือน
3. การใช้งาน E-mail จำนวนการสร้าง E-mail Account ระบบ Webmail ที่ใช้ ของทาง Naxza Hosting ใช้เป็น uebimiau , squirrel และ roundcube ซึ่งมีให้เลือก 3 ระบบครับ
4. ภาษาที่ใช้พัฒนา เช่น php asp หรือ asp.net ของทาง Naxza มีให้เลือกทั้ง Hosting ระบบ Unix และ Window Hosting ครับ
5. Control Panel การใช้งาน control panel ความยากง่ายในการใช้งาน ของทาง Hosting Naxza ใช้เป็นระบบ DirectAdmin Control Panel

กลับไปเมนูย่อย

 

 

 

DNS คือ Domain Name System และ DNS server คือ Domain Name System server เป็นเครื่องบริการแปลงชื่อเว็บเป็นหมายเลข IP ซึ่งการแปลงชื่อนี้อาจเกิดในเครื่อง local เอง จาก cache ในเครื่อง local หรือจากเครื่องบริการของผู้ให้บริการ เพราะ เบอร์ IP Address เป็นตัวเลขที่ใช้ไม่ค่อยสะดวกและจำยาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดระบบตั้งชื่อแบบที่เป็นตัวอักษร ให้มีความหมายเพื่อการจดจำได้ง่ายกว่ามาก เวลาเราอ้างถึงเครื่องใดบนอินเตอร์เน็ต เราก็จะใช้ชื่อ DNS เช่น www.kradarndum.com แต่ในการใช้งานจริงนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ เมื่อรับคำสั่งจากเราแล้ว เค้าจะขอ (request) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่บริการบอกเลขหมาย IP Address (ทำหน้าที่คล้ายสมุดโทรศัพท์ Yellow Pages) ซึ่งเรียกกันว่าเป็น DNS Server หรือ Name Server ตัว Name Server เมื่อได้รับ request ก็จะตอบเลขหมาย IP Address กลับมาให้เช่น สำหรับ www.kradarndum.com นั้นจะตอบกลับมาเป็น xxx.xxx.xxx.xxx จากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจึงจะเริ่มทำการติดต่อ กับคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่งมันก็จะผ่านกระบวนการแบบที่กล่าวไปข้างต้น คือแบ่งข้อมูลออกเป็น packet จ่าหัวด้วย IP จากนั้นส่ง packet ไปซึ่งก็จะวิ่งผ่าน gateway ต่างๆ มากมายไปยังเป้าหมาย

กลับไปเมนูย่อย

 

 

 

 

 

 ISP หรือ Internet Service Provider เป็นหน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ทำหน้าที่เสมือนเป็นประตูเปิดการเชื่อมต่อให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้บริการด้านนี้อยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ ( Commercial ISP) และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ (non-commercial ISP ) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมากกว่า 20 ราย

กลับไปเมนูย่อย

 

 

 

IPAddress ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP 
ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น  โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร 

กลับไปเมนูย่อย

 

 

 

Webserver คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์

การใช้งาน Web Server 

กลับไปเมนูย่อย